วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 10


1 จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่างๆขององค์การ
ตอบ ระบบวิสาหกิจ คือ ระบบหรือกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับขอบเขตงานทั่วทั้งองค์การหรืองานในหน้าที่หลักขององค์การ ซึ่งจัดเป็นระบบสารสนเทศที่มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน และมักจะถูกจำกัดขอบเขตในแต่ละแผนก หรือในแต่ละพื้นที่งานอย่างชัดเจน
2 ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
ตอบคือ มีความเกี่ยวข้องกันในการนำไปสู่การวางแผนทรัพยากรองค์การ (อีอาร์พี) โดยมีฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นของเอ็มอาร์พี II ด้วยการเชื่อมต่อระบบประมวลผลธุรกรรม (ทีพีเอส) เข้ากับระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานแนวไขว้ (Cross Functional Information System) ทั่วทั้งองค์การ นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องมือของระบบสารสนเทศอื่นๆเช่น อัจฉริยะทางธุรกิจ และซอฟต์แวร์อื่นๆ เพื่อขยายขีดความสามารถของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจ รวมทั้งการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนหน้าที่งานด้านการตลาดเพื่อสังคม
3 ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
ตอบ แหล่งต้นทาง
4 การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
ตอบ 1 สายงานด้านวัสดุ
2 สายงานด้านสารสนเทศ
3 สายงานด้านการเงิน
5 บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทาน จงอธิบาย
ตอบ คือ ความไม่แน่นอน เช่น มีปัจจัยหลายประการซึ่งจะส่งผลตาอการพยากรณ์ความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้า ซึ่งธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ แต่สามารถวัดความไม่แน่นอนนี้ได้ในทันที่ โดยใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างแรงกระตุ้นด้านความต้องการผลิตภัณฑ์ช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากความไม่แน่นอนด้านระยะเวลาการขนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วนที่ใช้ภายในโซ่อุปทาน ที่สืบเนื่องจากปริมาณสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อมักจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงภายใต้โซ่อุปทาน จึงก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงความต้องการผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วจนกระทั้งเกิดโลจิสติกส์ส่วนกลับ หรือการส่งวัสดุหรือผลิตภัณฑ์คืนภายใต้โซ่อุปทาน หรือสาเหตุหนึ่ง ก็คือ ในช่วงระหว่างการขายปลีกเกิดปัญหาด้านสินค้าคงเหลือส่วนเกิน ซึ่งจำเป็นจะต้องถูกส่งคืนกลับไปยังผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต และผู้จัดหาวัตถุดิบ เป็นทอดๆไป
6 อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดการโซ่อุปทานอย่างไร
ตอบ  สนับสนุนในส่วนของผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิต โดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การ เขียนโดย Majorica_major 
7. จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมพันธ์ลูกค้า
ตอบ การใช้อีคอมเมิร์ชช่วยในธุรกิจ
8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของอี-ซีอาร์เอ็ม
ตอบเริ่มตั้งแต่การใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตหรือจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล เขียนโดย Majorica_major 
9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การอย่างไร
 ตอบ เพราะระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนทางด้านต่าง ๆ ดังนั้น ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ จึงต้องการการวางแผนที่เป็นระบบเช่นกัน
10. การแพร่กระจายความรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้าง
 ตอบใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์สารสนเทศทางธุรกิจกรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549. เขียนโดย Majorica_major 

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 9


1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีมาพอเข้าใจ
ตอบ แนว ทางการใช้สารสนเทศทางการบัญชี คือ ในปัจจุบันได้เกิดพัฒนาการด้านการทำบัญชีขององค์การธุรกิจทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีคือทิศทางหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี ที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการรวบรวม จัดรับเก็บ ประมวล และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชี ทั้งในส่วนของบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร เพื่อผลของการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีด้วยมือ ซึ่งมักประกอบด้วยขั้นตอนที่ค่อนข้างมีความซ้ำซ้อน จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการออกรายงานทางการเงินและรายงานทางการบริหาร ดังนั้น จึงถือว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชี คืออีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสำหรับการดำเนินงานภายในธุรกิจ อีกทั้งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ และรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต
2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์กรมาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ ตัวอย่างเช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ ประกอบด้วยลูกค้า ผู้ขายสินค้า ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นทุน ธนาคาร คู่แข่งขัน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร เป็นต้น

3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
ตอบ เลือก เพราะ การบัญชี ถือเป็นหน้าที่งานด้านการบริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ ที่สามารถช่วยตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีด้วยมือ
4. หาก ธุรกิจแห่งหนึ่งมีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูก ต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรขาดทุนที่แท้จริง
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. เป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ มี ความสัมพันธ์กัน คือ เป็นการทำบัญชีที่เหมือนกันแต่จะแตกต่างตรงที่ว่าการทำบัญชีด้วยระบบ คอมพิวเตอร์เป็นการนำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาใช้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการทำให้ยุ่งยาก ซึ่งต่างกับการบันทึกบัญชีด้วยมือ เขียนโดยapiozz
6. เพราะเหตุใดรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
ตอบ เนื่อง จากในการลงบันทึกการบัญชีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะในการจัดทำบัญชี ธุรกิจจะต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบใน การซื้อขาย แลกเปลี่ยนกันเพื่อที่จะได้นำตัวเลขที่ได้มาทำการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง เขียนโดยapiozz
7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
ตอบ ในอนาคตของระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะเน้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีร่วมกับโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้โซ่คุณค่าและโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถนำสารสนเทศทางการบัญชีไปใช้ร่วมกับระบบข้อมูลอื่น เช่น ระบบสารสนเทศทางการตลาด ระบบสารสนเทศทางการเงิน และระบบสารสนเทศขององค์การคู่ค้า เป็นต้น

8. หาก ธุรกิจมีการเสนองบการเงิน ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วยจะถือเป็น รายงานทางเงินหรือรายงานทางการบริหาร
ตอบ รายงานทางการบริหาร

9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจจะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
ตอบ1. ระบบสารสนเทศทางการผลิต
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาด
3. ระบบสารสนเทศทางการเงิน
4. ระบบสารสนเทศทางการเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. ผู้จัดการงานบัญชี
6. ผู้ใช้รายงาน

10. เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
ตอบ ทราบถึงข้อมูลภายในองค์การเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปลงข้อมูลทางการบัญชีได้อย่างถูกต้อง เขียนโดยapiozz





1


สรุปบทที่ 10

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นจะต้องใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านการแพร่กระจายสารสนเทศไปทั่วโลก ดังนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการด้านระบบสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ ร่วมกับการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนการใช้งานต่ำ แต่มีสมรรถภาพการใช้งานสูง จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสนองตอบต่อการใช้สารสนเทศเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจ ทั้งในส่วนการจัดการโซ่อุปทาน การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และหน้าที่งานอื่น ซึ่งถือเป็นงานหลักขององค์การที่จะนำมาซึ่งความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนผลกำไรของธุรกิจในระยะยาว
ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ระบบสารสนเทศหลากหลายระบบ โดยการปฏิบัติงานอยู่ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจเฉพาะเรื่อง และยังมีการบูรณาการระบบสารสนเทศต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อการเชื่อมโยงและการแพร่กระจายสารสนเทศทั่วทั้งองค์การ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงสารสนเทศกับองค์การภายนอก ซึ่งก็คือ ลูกค้า ผู้จัดหา และหุ้นส่วนธุรกิจ ภายใต้รูปแบบของระบบวิสาหกิจ
ระบบวิสาหกิจ เป็นระบบที่รวบรวมระบบประยุกต์ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ และระบบอื่นๆ ไว้ภายใต้ระบบเดียว โดยมีระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การเป็นระบบที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจหลักและระบบสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทำงานของระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทานและระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ อีกทั้งยังใช้สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจโดยการค้นหาความรู้ จากฐานความรู้ขององค์การหรือศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจ โดยมีการทำงานร่วมกับระบบการจัดการความรู้ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจในส่วนอัจฉริยะทางธุรกิจ

สรุปบทที่ 9

           การบัญชี ถือเป็นหน้าที่งานด้านการบริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบัน ได้เกิดพัฒนาการด้านการทำบัญชีขององค์การธุรกิจทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีคือทิศทางหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี ที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชี ทั้งในส่วนของบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร เพื่อผลของการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีด้วยมือ ซึ่งมักประกอบด้วยขั้นตอนที่ค่อนข้างมีความซ้ำซ้อน จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการออกรายงานทางการเงิน และรายงานทางการบริหาร ดังนั้น จึงถือว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีคืออีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสำหรับการดำเนินงานภายในธุรกิจ อีกทั้ง ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ และรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต
          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่นำเสนอสารสนเทศ ทั้งในรูปแบบบัญชีการเงิน และบัญชีผู้บริหาร ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้รายงาน ทั้งในรูปแบบของเอกสารทางการบัญชี รายงานทางการเงิน และรายงานทางการบริหาร ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลของระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน รวมทั้งระบบรายงานทางการบริหาร โดยรายงานทางการเงินจะถูกจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และรายงานทางการบริหาร จะถูกจัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้รายงาน
         กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการบัญชี โดยปกติจะดำเนินตามวัฏจักรรายการค้า โดยสามารถจำแนกกระบวนการทางธุรกิจได้ 4 ส่วนคือ การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจ การบัญชีแยกประเภททั่วไป การออกรายงานทางการเงิน และการออกรายงานทางการบริหาร โดยมีการรับธุรกรรมจากระบบสารสนเทศอื่นๆมาเก็บไว้ในแฟ้มสมุดรายวันทั่วไป ตลอดจนทำรายการปรับปรุงบัญชีเท่าที่จำเป็น จากนั้นจึงจำแนกประเภทบัญชี และผ่านรายการไปยังแฟ้มบัญชีแยกประเภท รวมทั้งปรับยอดคงเหลือของแต่ละบัญชีในแฟ้มงบทดลอง ก่อนที่จะประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินและรายงานทางการบริหาร สำหรับเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึดหัดบทที่ 8


1 จงอธิบายเป้าหมายทางการเงินทั้งในส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
ตอบ 1 กำไรสูงสุด เป้าหมายนี้ มักจะเน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอน และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นด้วย แต่กำไรสูงสุดก็ยังคงละเลยต่อปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ความเสี่ยงของการลงทุน ระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนการลงทุน และต้นทุน
2 ความมั่งคั่งสูงสุด หากธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย จึงจะถือว่าธุรกิจนั้นเกิดความมั่งคั่งสูงสุด (Wealth Maximization) ซึ่งจะต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเงินที่ถูกต้อง ตลอดจนมีการสร้างพื้นฐานการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เป้าหมายทางการเงินทั้ง 2 ประการข้างต้นแล้ว องค์การควรจะตั้งเป้าหมายเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เช่น ไม่ควรทำการปั่นหุ้นเพื่อสร้างราคาหุ้นของบริษัทให้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการหลอกลวงนักลงทุนซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น
2 จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานทางการเงิน
ตอบ ธุรกิจส่วนใหญ่ จะมีการใช้สารสนเทศทางการเงินทั้งในแบบของเอกสาร รายงาน เพื่อการปฏิบัติงาน และรายงานเพื่อการจัดการ โดยกำหนดรูปแบบรายงานตามความต้องการของผู้ใช้รายงาน เช่น ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสม โดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ ในการวางแผนทางการเงินจะต้องครอบคลุมทั้งองค์การ อีกทั้งยังต้องมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว นักวิเคราะห์ทางการเงินส่วนใหญ่จะใช้เว็บและแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยสร้างแผนทางการเงิน ตลอดจนกิจกรรมด้านงบประมาณต่างๆ
3 เพราะเหตุใดธุรกิจที่มีการจัดการทางการเงินไม่ดีพอ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต
ตอบ เพราะระบบสารสนเทศทางการเงิน ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่างๆ ทางการเงิน เช่น การพยากรณ์และวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดการเงินลงทุนในส่วนการใช้และการบริหารเงินทุน รวมทั้งการจัดการเงินลงทุน โดยจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินเป็นพื้นฐานข้อมูลของระบบ โดยมีเป้าหมายด้านการสร้างกำไรสูงสุดให้ธุรกิจ และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสารสนเทศทางการเงินที่ธุรกิจได้รับทั้งในเชิงปฏิบัติการและในเชิงบริหาร ตลอดจนสารสนเทศที่ได้จากภายนอกองค์การทั้งจากตลาดการเงินและจากภาครัฐบาล
4 ธุรกิจมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ  คือ การใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมและการตรวจสอบทางการเงิน โดยอาศัยการพยากรณ์และการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กิจกรรมด้านต่างๆของธุรกิจ เช่น การตลาด การผลิต และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดการเงินสดและเงินลงทุนของกิจการก่อให้เกิดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ
5 กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
ตอบ ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงิน ได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อสนองตอบหน้าที่ทางการเงินทั้ง 4 ระบบ คือ การพยากรณ์และวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดการลงทุน และการจัดการเงินทุน โดยจำแนกระบบย่อยออกเป็น 5 ระบบ คือ ระบบวางแผนทางการเงิน ระบบจัดการทางการเงิน ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน และระบบควบคุมทางการเงิน อีกทั้ง ในระบบย่อยแต่ละระบบจะต้องมีการประมวลผลและออกรายงานสารสนเทศทางการเงินต่างๆ เพื่อการนำเสนอต่อผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกระดับชั้นใช้สำหรับการตัดสินใจ
6 จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
ตอบ คือ เพื่อการนำเทคโนโลยีการทำเหมืองข้อมูลและโครงข่ายประสาท มาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน โดยนำสารสนเทศทางการเงินในอดีตมาใช้เพื่อการพยากรณ์ทางการเงินในอนาคต
7 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบควบคุมทางการเงินอย่างไร
ตอบ ระบบวิเคราะห์ทางการเงินมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆ ส่วนระบบควบคุมทางการเงิน คือ การพยากรณ์หรือ การควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานซึ่งรวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบระบบสารสนเทศด้วยเขียนโดย chanida  
8 การพยากรณ์ทางการเงิน มีความสัมพันธ์กับงบประมาณเงินสด และงบประมาณการลงทุนอย่างไร
ตอบ มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบพยากรณ์ทางการเงินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน ส่วนงบประมาณเงินสดเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินในลำดับต่อมา  และระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจ การลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การเขียนโดย chanida  

9 จงยกตัวอย่างการใช้สารสนเทศจากตลาดการเงิน สำหรับการจัดหาเงินทุน
ตอบ การจัดหาเงินทุนตัวอย่าง เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนประกอบธุรกิจ
10.      จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
ตอบ  หน่วยงานราชการ ธนาคาร การไฟฟ้า ประปา เซเว่น  ร้านขายรถต่างๆ เป็นต้น

สรุปบทที่ 8

ภาระหน้าที่สำคัญทางการเงิน คือ การจัดการกระแสเงินสดเข้าและออกจากธุรกิจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทุกๆกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน้าที่ เช่น การจ่ายเงินเดือนของแผนกทรัพยากรมนุษย์ การจ่ายค่าซื้อวัตถุดิบของแผนกจัดซื้อ และการรับชำระค่าขายสินค้าของแผนกขาย เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดเข้าและออกของแต่ละวันทำการ ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดการและการควบคุมทางการเงินที่ดี
ระบบสารสนเทศทางการเงิน เป็นเครื่่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมและการตรวจสอบทางการเงิน โดยอาศัยการพยากรณ์และการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กิจกรรมด้านต่างๆ ของธุรกิจ เช่น การตลาด การผลิต และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดการราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดการเงินสดและเงินทุนของกิจการก่อให้เกิดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ
ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงินประกอบด้วย 5 ระบบหลัก คือ ระบบวางแผนทางการเงิน ระบบจัดการทางการเงิน ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน และระบบควบคุมทางการเงิน ซึ่งการประมวลผลของระบบต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการเงิน เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน และยังมีการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเข้าร่วมด้วย เพื่อช่วยสนับสนุนงานในส่วนการนำเสนอสารสนเทศทางการเงินที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 7


1 จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ

ตอบ กิจกรรม Logistics จะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องมีการจัดการกิจกรรม RIMS ภายใต้ Plat Form ของ Information Technology โดยกิจกรรมของ RIMS ต่างดำเนินกิจกรรมตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของตน ( Service on Individual Specialize) กระบวนการต่างๆ ข้างต้น ที่ประกอบเป็นโครงข่าย Logistics & Supply Chain นั้น มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ความพยายามที่จะลดต้นทุนหรือบทบาทของระบบงานใดงานหนึ่งหรือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอย่างไม่เป็นบูรณาการ (Integration) มักจะทำให้กระทบในส่วนอื่น เช่น การลดต้นทุนการจัดซื้อด้วยการจัดซื้อทีละมากๆ จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บวัสดุคงคลังสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจัดการ Logistics & Supply Chain จำเป็นต้องพิจารณาของภาพรวมทั้งระบบ ที่เรียกว่า Integrated Logistics Management
กิจกรรมที่สำคัญของการจัดการ Logistics หรือที่เรียกว่า “RIMS”
1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics ซึ่งอาจได้แก่
ก. การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management : (CRM) Logistics จะต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าโดยตรง (Direct Customers) และลูกค้าทางอ้อม (Indirect Customers) คือลูกค้าของลูกค้า
ข. การจัดการในเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Suppliers Value) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ Logistics เช่น การจัดหาสินค้า , การเก็บสินค้า (Storage) ฯลฯ

ค. การจัดการเกี่ยวกับการผลิต (Manufacturing Management)
ง. การจัดการเกี่ยวกับการกระจายสินค้า (Distribution Management) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ Packaging คือ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Desire

จ. ผู้ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการขนส่ง และจะรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ Cargoes Clearing ซึ่งรวมถึงพิธีการศุลกากร , กิจกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
ฉ. ผู้ให้บริการเครือข่าย Information Technology Network เช่น ผู้ให้บริการ Web Site เพื่อธุรกิจ
ช. ผู้ให้บริการในการจัดซื้อ-จัดหา และหรือ ผู้ให้บริการ Vender Management ในรูปแบบต่างๆ

2 การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด
           ตอบ 1. การโฆษณา (advertising)
2. การส่งเสริมการขาย (sales promotion)
3. การขายโดยพนักงานขาย (personal selling)
4. การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ (publicity and public relations)
5. การตลาดทางตรง (direct marketing)


3 ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไร จึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้
           ตอบ ลักษณะของกิจกรรมทางการตลาดเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาวได้นั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้คือ
1 จะต้องเป็นลักษณะการสื่อสารแบบตัวต่อตัวอย่างเป็นกันเอง
2 จะต้องส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าในระยะยาว มากกว่าที่จะเป็นการหวังผลยอดขายในระยะสั้น
3 จะต้องเป็นการสื่อสารแบบสองทางและสร้างโอกาสให้ลูกค้าตอบกลับมายังบริษัท
4 กิจกรรมทางการตลาดที่ใช้จะต้องสร้างประโยชน์ให้ทั้งฝ่ายบริษัทและกับลูกค้า

4 จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่าและการสื่อสารคุณค่า
            ตอบ การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจเนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1.การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
2.การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกตการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
3.คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า "รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง" แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงาน ของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น
4.กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
5.ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือ เปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน

ที่มา นุชนาฏ .(2552).http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=472.0

5 กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
        ตอบ ระบบสารสนเทศทางการขาย คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทราบยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่น เช่น ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่น ๆ ทางการผลิต ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในส่วนประวัติการซื้อและรับชำระเงินของลูกค้า ระบบโลจิสติกส์ ในส่วนการรับสินค้าขาเข้า และการส่งสินค้าขาออก เป็นต้น ซึ่งต้องมีการประมวลผลใบสั่งขาย และการออกรายงานการขายเพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป

6 จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
         ตอบ 1เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพ การขายเพิ่มขึ้น
2 เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้สามารถครองใจลูกค้ามากขึ้น
3 เพื่อสามารถนำไปขยายตลาดสำหรับลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
4 เพื่อมีส่วนในการบริหารจัดการการทำงานของพนักงานขาย การแบ่งเกรดลูกค้า อะไรบ้างที่ลูกค้าชอบ/ไม่ชอบ หรือ แม้แต่การวิเคราะห์สื่อโฆษณา ที่ใช้ว่าได้ผลหรือไม่ , มีคู่แข่งเป็นใครบ้าง , พนักงานขายเข้าไปพูดคุยอะไรกับลูกค้าบ้าง , ลูกค้าโทรเข้ามาสอบถามเรื่องสินค้าหรือบริการตัวไหนเป็นพิเศษ , ฯลฯ
5 เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์แบบโชว์เบอร์เพื่อเก็บหมายเลขโทรศัพท์ และ สามารถเชื่อมโยงการสืบค้นข้อมูลประวัติลูกค้ากรณีที่มีการโทรศัพท์เข้า

7 ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพราะเหตุใด
              ตอบ1. ระบบการขายอัตโนมัติ ประกอบด้วย
-
ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
-
ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
-
ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2.
ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3.
ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ
4. Data Warehouse
และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ

1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

8 ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ จะช่วยสนับสนุนงานด้านการวิจัยการตลาด โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อการกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาด และอื่นๆ

9 จงยกตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านคาปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
            ตอบ ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลือกซื้อสินค้า การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเวลาการรอคอย ในบางครั้งยังอาจลดจำนวนพนักงานขาย หรือไม่ต้องใช้พนักงานขายเลยก็อาจเป็นได้Turbanetal.ได้ยกตัวอย่างนวัตกรรมร้านค้าปลีกดังนี้
2.1 มีการจัดหาเครื่องกราดตรวจรหัสแท่งแบบมือถือไร้สายไว้ในร้าน เพื่อให้ลูกค้าใช้เลือกสินค้าที่ต้องการพร้อมทั้งแสดงรายละเอียดสินค้า รวมทั้งเงื่อนไขการให้บริการด้านการบำรุงรักษาสินค้าลูกค้าสามารถดำเนินการซื้อสินค้าทันทีที่ต้องการโดยใช้สมาร์ตการ์ด หรือบัตรเครดิตและทำการส่งรายการซื้อไปยังที่แคชเชียร์เพื่อดำเนินการรับชำระเงิน เมื่อลูกค้าเดินมาถึงจุดรับชำระเงินกู้สามารถรับใบเสร็จรับเงินและสินค้าที่ถูกบรรจุใส่ถุงเรียบร้อย
2.2 ร้านค้าแบบคิออส (kiosk) มีการจัดหาคอมพิวเตอร์แบบมือถือสำหรับลูกค้าค้นหาข้อมูลสินค้าภายในร้าน หรือแม้แต่การเปรียบเทียบราคาสินค้ากับคู่แข่งขัน บางร้านอาจจัดหาอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ด้วย
2.3 มีการติดตั้งระบบวีดีทัศน์ภายในร้านค้า สำหรับนับจำนวนลูกค้าและติดตามรอยลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อสินค้าภายในร้านค้าโดยมุ่งเน้นถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามากกว่าการรักษาความปลอดภัยในร้านค้าข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการออกแบบร้านค้าและการส่งเสริมการขายภายในร้าน รวมทั้งการตัดสินใจด้านการจัดหาพนักงานบริการลูกค้าภายในร้านในเวลาที่มีลูกค้าปริมาณมากด้วย
2.4 บางร้านค้าที่มีระบบการรับชำระเงินโดยใช้เช็คก็อาจติดตั้งระบบบันทึกการรับเช็ค เมื่อลูกค้าเลือกซื้อสินค้าแล้วก็ยื่นแบบฟอร์มเปล่าขอเช็คให้พนักงานรับเงินเพื่อจับคู่กับข้อมูลการซื้อของลูกค้าในเครื่องบันทึกรับเงินสดอัตโนมัติ ระบบจะพิมพ์ชื่อผู้ถูกสั่งจ่าย พร้อมทั้งจำนวนเงินจ่ายค่าสินค้าลงบนเช็คและส่งให้ลูกค้าลงนามในตั๋วเงินจ่าย จากนั้นระบบจะตรวจสอบความถูกต้องของการรับเงินและหักบัญชีธนาคารของลูกค้าทันทีก่อนที่ลูกค้าจะออกจากร้านพร้อมสินค้าในมือ
2.5 มีร้านค้าปลีกจำนวนหนึ่ง ได้ติดตั้งเครื่องรับชำระค่าสินค้าอัตโนมัติภายในร้านค้า ให้ลูกค้าทำการชำระค่าซื้อสินค้าด้วยตนเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดภาระการจ่ายเงินเดือนพนักงานอีกทั้งยังทำให้ลูกค้ามีความสุขมากขึ้น เช่น มีการใช้เครื่องกราดตรวจแบบยู (U-Scan) ภายในร้านคิออส และซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง


10 ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนตัดสินใจอย่างไร
                ตอบ ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการพยากรณ์ยอดขาย จะเริ่มตั้งแต่มีการรับเข้าข้อมูลยอดขายในอดีตจากแฟ้มขาย ข้อมูลอุปสงค์ของตลาดจากแฟ้มข่าวกรอง ข้อมูลค่าใช้จ่ายทางการตลาดจากแฟ้มงบประมาณและข้อมูลส่วนแบ่งตลาดจากแฟ้มวิจัยตลาด โดยใช้โปรแกรมพยากรณ์ยอดขายประมวลผล เพื่อออกรายงานต่างๆ เช่น รายงานพยากรณ์ยอดขาย โควตาขายและงบประมาณการขาย เพื่อนำส่งผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจทางการตลาดต่อไป