วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 1

สรุปบทที่ 1
                 สำหรับการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการ การจัดการ และการตัดสินใจส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเฉพาะด้านของการทำหน้าที่ในธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ของกระบวนการสารสนเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศและความรู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดีและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ โดยผ่านกระบวนการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลและออกรายงานต่างๆ ทั้งในลักษณะของรายงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการและรายงานเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งก็คือ บ่อเกิดของการใช้สารสนเทศทางธุรกิจภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ที่นำความรู้ด้านธุรกิจ ความรู้ด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้สารสนเทศในองค์การธุรกิจ ตลอดจนสารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
               ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่จะถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายของการแสวงหากำไรด้ยกันทั้งสิ้น การดำเนินธุรกิจจะประกอบด้วยหน้าที่งานต่างๆ ซึ่งปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงานที่หลากหลาย ภายใต้โครงสร้างองค์การของธุรกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจยังมีความจำเป็นต้องรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลสารสนเทศและความรู้ เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร โดยสารสนเทศที่ได้รับจะต้องมีคุณลักษณะที่ดี และสามารถใช้สำหรับแต่ละกระบวนการทางธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ ภายใต้ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศ และการชี้นำองค์การให้ดำเนินไปสู่จุดหมายของธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
                 ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ธุรกิจส่วนใหญ่มักปรับโครงสร้างด้วยการใช้รูปแบบขององค์การดิจิทัล โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจหลักเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พอเพียงกับเพียงพอแตกต่างกันอย่างไร
           " ความพอเพียง" หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดย อาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานทางจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล

       "เพียงพอ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ ความมีเหตุผล

       "สรุปคือ ความพอเพียงกับเพียงพอมีความหมายไม่แตกต่างกัน เพราะต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันในการใช้ชีวิตนั้นก็คือ ความพอดีของชีวิตที่ไม่มากไม่น้อยเกินไป หรือที่เรียกว่า "ทางสายกลาง" นั้นเอง 

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่1

(1) จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของ ข้อมูล และสารสนเทศ มาพอเข้าใจ
        ตอบ ข้อมูล(Data) คือคำพรรณนาถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และธุรกรรม ซึ่งถูกบันทึกจำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งเก็บข้อมูล แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียงก็ได้ และข้อมูลอาจถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบภายในฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ส่วน
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลและจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจได้


(2 )การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
         ตอบ ในการจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่รวมทั้ง การรายงานภาระรับผิดชอบ โดยแสดงสายการบังคับบัญชา ซึ่งสายการบังคับบัญชาหากจะมีความสัมพันธ์กับหน้าที่งานทางธุรกิจ จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การของธุรกิจ โดยมีการจัดแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบตามภาระงานและอำนาจหน้าที่ซึ่งแตกต่างกันไป ภายใต้ภาพรวมของหน้าที่งานทางธุรกิจ


(3) การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
         ตอบ ในการจัดตั้งธุรกิจใหม่จะต้องดำเนินตามขั้นตอนดังนี้คือ
                  3.1  ควรจัดหาเงินลงทุนในธุรกิจ เป็นเงินสดในการเริ่มลงทุนธุรกิจที่ต้องมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ
                  3.2 สินค้า จัดหาสินค้าที่จะนำมาลงทุนที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจ และตรงต่อความต้องการของลูกค้า
                  3.3 วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน ควรจัดหาให้พร้อม
                  3.4 สถานที่ประกอบกิจการ ธุรกิจควรที่จะหาทำเลที่ตั้งในการดำเนินงานที่เหมาะสมและเป็นสถานที่ที่สามารถสร้างมูลค่าได้ในการทำธุรกิจ
                  3.5 การว่าจ้างแรงงาน นี้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธูรกิจ


(4) จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
         ตอบ สำหรับแนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจในระดับปฏิบัติการ เป็นการใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฏิบัติการ เปรียบเสมือนกะจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่นการประมวลผล การบันทึก และการรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ โดยมีการใช้สารสนเทศช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ส่วนระดับบริหาร กระบวนการสารสนเทศ จะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ ตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยสามารถจำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางธุรกิจดังนี้
                  1 ใช้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
                  2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท


(5) ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน ในช่วงเวลาที่ต้องการตัดสินใจ แต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
          ตอบ หากเกิดข้อผิดพลาดทางสารสนเทศ ซึ่งผู้บริหารก็จะได้รับผลกระทบ มีผลให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่จัดได้ในระดับต่ำ


(6)กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการ ได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจ อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
           ตอบ 1เกิดภาระของสารสนเทศที่มากเกินความจำเป็น สำหรับการบริการสารสนเทศแก่ผู้บริหารจะต้องระมัดระวังในเรื่องปริมาณของสารสนเทศที่จัดส่งให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและระยะเวลาที่จำกัดของการใช้สารสนเทศนั้นๆ
                    2 มาตรการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดผลัพธ์ที่ตรงกันข้าม กับความต้องการได้ด้วยเหตุผลนี้ จึงควรพิจารณาเลือกใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย


(7) การสั่งการของผู้บริหารระดับสูง ในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคน ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
            ตอบ สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง คือสายงานที่เกิดจากระดับชั้นของการบริหารงานในองค์การ ซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภทคือ
                    7.1 การรายงานผลการปฏิบัติงาน
                    7.2 การงบประมาณและการสั่งการ


(8) จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
             ตอบ โครงสร้างกระบวนการธุรกิจมือถือมีรายละเอียดดังนี้
                     1 กระบวนการปฏิบัติการ
                     2 กระบวนการจัดการ
                     3 กระบวนการสารสนเทศ


(9) องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
             ตอบ องค์การดิจิทัลคือ องค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติ โดยอาศัยความสามารถด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า ส่วนองค์การธุรกิจทั่วไป คือองค์การธุรกิจทั่วไปจะอาศัยเพียงแต่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัลความถูกต้องแม่นยำก็มีน้อยกว่า


(10) องค์การควรดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
              ตอบ เพื่อสร้างโอกาสแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุน โดยมี 7 วิธี คือการจัดการกลยุทธ์ จุดศูนย์รวมลูกค้า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับกระบวนการทางธุรกิจ นวัตกรรมด้านการผลิต ตามคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอีคอมเมิร์ซ และพันธมิตรทางธุรกิ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม
        จากปัญหาที่ร้านไอศครีมพบในการบริหารงาน จึงทำให้ผู้บริหารมีแนวคิดในการที่จะนำไอที (ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังนี้ คือ ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิที่ตู้ไอศครีม ใช้ซอฟต์แวร์ kiosgue และ การควบคุมดูแลพนักงานร้านในแต่ละสาขาใช้การติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด

คำถาม

(1) ประโยขน์ที่ร้านไอศครีม lberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
ตอบ 1 ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการระบบที่เป็นขั้นตอน ที่ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
         2 ทำให้มีการควบคุมคุณภาพของกระบวนการปฏิบัติงานที่สามารถเพิ่มมูลค่าใหเธุรกิจ
         3 สามารถลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการร้านที่สร้างความสมดุลระหว่างการลดลงของต้นทุนการดำเนินงานด้านต่างๆของธุรกิจ
         4 เพิ่มคุณภาพของสินค้าให้สูงขึ้น
         5ได้พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานมากขึ้น
         6เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานให้มีความรวดเร็วของธุรกิจ
         7 เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดของการบริหารจัดการร้าน
         8 เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาร้านได้ในอนาคตและสามารถวางแผนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้
         9 เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ทันสมัยตรงต่อความต้องการของลูกค้า
        10ช่วยตัดสินใจที่ดีขึ้นในการดำเนินงานของธุรกิจ

(2)ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม lberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้าง
ตอบ ด้านข้อมูลข่าวสารทางสารสนเทศในสื่่อของโฆษณา การตลาด และการบริหารจัดการทรัพยากรภายในธุรกิจ งบการเงิน  ตลอดทั้งการบริหารจัดการวัตถุดิบคงเหลือ การบริการลูกค้าสัมพันธ์ การกระจายสินค้า การขนส่ง ระบบการจัดเก็บสินค้า การจัดการเชิงการปฏิบัติงานและในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจกับคู่แข่งขันเป็นต้น

(3) จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศครีม lberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ธุรกิจร้านนมสด เนื่องจากว่านมสดเป็นวัตถุดิบที่ต้องมีกระบวนการจัดเก็บที่ดี และมีการควบคุมอุณหภูมิในการจัดเก็บ จึงเหมาะในการนำระบบทางไอทีมาช่วยในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพของสินค้า และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานด้านธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาสินค้าคงเหลือที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆของธุรกิจ ดังนั้นเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาจจะมีตู้แช่ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ มีระบบหน้าร้านที่ดีโดยการใช้ระบบไอทีมาช่วยในการทำงานที่ให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน และเป็นระบบมากขึ้น เป็นต้น

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด

1.ระบบสารสนเทศคืออะไร
        ระบบสามรสนเทศ หมายถึง เซตหรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการ สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลเพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพท์จากการประมวลผลสู่ผู้ใช้ระบบเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจ


2.การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
        องค์การทางธุรกิจทุกประเภททั้งภาครัฐและภาคเอกชน ล้วนแต่มีการติดตั้งและใช้งานระบบสารสนเทศอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบ ซึ่งตั้งอยู่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท และถือเป็นส่วนหนึ่งของโซ่คุณค่า (value chain) นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ กับระบบสารสนเทศภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การคู่ค้า เช่น ผู้จัดหา ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีกและลูกค้า เป็นต้น

3.การพัฒนาและการใช้ระบบสารสนเทศ
         การพัฒนาระบบคือ แนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ในองค์การ ถือเป็นแนวทางที่อาจใช้เงินลงทุนและช่วงเวลาในการพัฒนาระบบค่อนข้างสูง ต้องสร้างทีมงานพัฒนาระบบขึ้นภายในองค์การเองแต่ระบบที่ได้มักตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด  และช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเทคนิคของการศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ รวมทั้งวิธีการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ การทำสารสนเทศให้เกิดผล และการประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศนั้น เพื่อนำข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศที่ใช้แล้วในระยะหนึ่ง มาทำการปรับปรุงแก้ไขระบบให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         การใช้ระบบสารสนเทศ เป็นสิ่งที่นิยมในการนำมาใช้ธุรกิจ ซึ่งโดยปกติองค์การธุรกิจสมัยใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย อันส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างองค์การให้แนบราบและลดระดับชั้นของการจัดการลงเพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร โดยมีจุดเน้นด้านการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

          ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
           1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
           2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
           3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
               - ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
               - ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
               - ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
      การพัฒนาระบบประกอบด้วย
           1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
               - การปรับปรุงคุณภาพ
               - การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
               - การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
               - การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว          
            2) บุคลากร (People) 
            3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
            4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด
            5) งบประมาณ (Budget) 
            6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
            7) การบริหารโครงการ (Project Management)
     หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
     1) คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
     2) เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้
          - ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
                        - รวบรวมและกำหนดความต้องการ
           - หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
           - ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
           - สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
     3) กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
     4) กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
     5) ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
     6) เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
     7) แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
     8) ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต
       ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
         - การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
                - การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)
         - การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
         - การออกแบบระบบ (System Design)
                - การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
         - การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)
 การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
        1. การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก
               2. การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ
เพื่อต้องการความชัดเจน
        3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ
        4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC) เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้ ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์

สรุปได้ว่า องค์การจะต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีการพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์การ โดยสามารถผสมผสานวิธีการมากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป เพื่อผลลัพท์ของการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ที่มา: http://thailocal.nso.go.th/nso-cms/itdevelop.html?start=1


 4 ระบบสารสนเทศ(IS)ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) อย่างไร
         ระบบสารสนเทศ(IS)กับเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT)ไม่แตกต่างกันเนื่องจากมีการทำงานที่เหมือนกันของกระบวนการคือ ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology ) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ส่วนระบบสารสนเทศ ( Information System)ระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน เป็นต้น
ที่มา:http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp

5 จะเรียนอะไรในวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
          จากความจำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้นความรู้ทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจเพื่อเป็นการเสริมความรู้และประสบการณ์นั้น ควรเรียนหลักการด้านระบบสาสนเทศ ระบบสารสนเทศตามกระบวนการทางธุรกิจ กระบวนการสารสนเทศทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์
ที่มา: รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์,2549