วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 5


1 จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1ตัวอย่างเช่น ถ้าหากองค์กรของคุณมีการวางแผนที่จะว่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 50 % หรืออาจจะมากกว่านั้นในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป การนำ HRIS มาใช้ก็จะสามารถช่วยให้คุณวางแผนและนำไปใช้ได้ทั่วทั้งองค์กรของคุณ โดยจุดสำคัญที่ต้องตระหนักถึงก็คือ การวางระบบสารสนเทศในงานทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ กระบวนการ มากกว่าจะเป็นการเป็นแค่เพียงสินค้าชิ้นหนึ่งเท่านั้น  การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของพนักงานของคุณเอง จะเป็นโอกาสอันดีที่ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดและพิจารณามองถึงนโยบาย รวมถึงกระบวนการต่างๆ ของงานทรัพยากรมนุษย์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากองค์กรของคุณไม่เคยได้มีการลงมือทำมันมาก่อนเลย ขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้น่าจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าข้อมูลต่างๆของพนักงานในองค์กรของคุณนั้นจะถูกจัดการได้เป็นอย่างดี
2บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เดิมมีหน่วยงาน การบุคคลกลาง ทำหน้าที่ดูแลงาน Hr ของเครือฯ ต่อมามีการปรับโครงสร้าง และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น Hr Corporate Center ทำหน้าที่บทบาทในการวางกลยุทธ์ คัดเลือกซอฟท์แวร์ สารสนเทศ และหาเครื่องมือการบริหารสมัยใหม่ อาทิ Hr Best Practice, Knowledge Management หรือ E-Hr มา ใช้กับเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมใหม่เป็นอย่างมาก บริษัทซีเกทเทคโนโลยี ได้ออกแบบโครงสร้างองค์กร ของหน่วยงาน Hr ได้น่าสนใจทีเดียว อาทิ หน่วยงาน Hr Strategic Planning and Project Management หน่วยงาน Hr Products Center นำระบบ Six Siqma มาใช้กับงาน Hr หรือมีตำแหน่งงาน HRIT Director ซึ่งเป็นบุคลากรที่จบทางสายงานคอมพิวเตอร์มาดูแลงาน HRIT โดยตรงซึ่งถือ ว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับ วงการ Hr ในบ้านเรา และบริษัทซีเกท เทคโนโลยี ถือว่าเป็นบริษัทแรกๆ ของโลกที่ออกแบบและพัฒนาระบบงาน HRIS เป็นของตนเอง ภายใต้ชื่อ Hr Central และนำระบบดังกล่าวใช้ติดต่อดูฐานข้อมูลพนักงานออนไลน์ถึงกันได้ทั่วโลก

2 จงเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารงานบุคคล และการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ตอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในกระบวนการจัดการ (Management process) ในส่วนของการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ซึ่งนับเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารที่จะต้องจัดสรรบุคคลที่มีคุณภาพเข้าทำงาน รวมถึงการพัฒนาและธำรงรักษาไว้ซึ่งลูกจ้างที่มีความสามารถ ซึ่งนับถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและยาวนานส่วน การบริหารงานบุคคล ก็คือการดำเนินงานและพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ โดยมีจุดเน้นที่การพัฒนาบุคคลและการจัดการด้านศักยภาพของบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การตามเป้าหมาย

3 จากหลัก 4 ข้อ และภารกิจ 4 ประการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านคิดว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร
ตอบ สอดคล้อง เนื่องจากหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์และภารกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ข้างต้น สามารถใช้เป็นแนวทางได้การระบุขอบเขตงานของระบบสารสนเทศบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสอดคล้องกันได้ เพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่สนองความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหารที่รับผิดชอบในงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเต็มที

4 หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีประสิทธิภาพท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1 ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2 ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีประสิทธิภาพ
3 บุคลากรจะได้รับการพัฒนาตนเอง ทั้งในส่วนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน ตลอดจนมีความก้าวหน้าในงานอาชีพ
4 บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับ จึงมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
5 บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6 องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงาน และดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
7 องค์กรมีโอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือและร่วมใจในการทำงาน
8 สังคมอยู่ได้อย่างสันติสุข เนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากการทำงาน
9 ประเทศชาติมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะองค์การเติบโตอย่างมั่นคง

5 จงยกตัวอย่างสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่นำเสนอต่อผู้บริหารระดับกลางในองค์การ
ตอบ จากตัวอย่าง KM กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งการเสวนากับผู้บริหารสถาบัน และคณบดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ รับทราบนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน หลักและวิธีการบริหารจัดการของผู้บริหาร ความคาดหวังที่ผู้บริหารมีต่อผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารระดับกลางในทัศนะของผู้บริหารข้างต้นโดยสรุปจะต้องใช้ความรู้และทักษะหลายด้านด้วยกัน ดังนี้ หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ด้านความรู้ ความรู้ที่ผู้บริหารระดับกลางพึงมีที่สำคัญ คือ 2.1  ต้องรู้ระเบียบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง  2.2  ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นในระดับผู้บริหาร   2.3  ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

6 สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงาน มักมีผลประโยชน์ต่อองค์การและบุคลากรอย่างไร
ตอบ สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงาน ถือเป็นภาระงานหนึ่งของผู้บริหารระดับสูง ที่จะต้องเจรจาต่อรองแรงงานกับสหภาพแรงงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรกับผู้บริหารระดับสูง และระหว่างบุคลากรกับบุคลากรด้วยกันเอง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารเกี่ยวกับสารสนเทศนี้กับบุคลากรและหน่วยงานภายนอกเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

7 ท่านคิดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีใดอย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เพราะเหตุใด
ตอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเป็นวิถีทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นภาวะหน้าที่หนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งช่วยให้ประหยัดเวลา ลดต้นทุนการฝึกอบรมในส่วนต้นทุนกระดาษและค่าใช้จ่ายในการเสนอขาย

8 จงอธิบายกระบวนการธุรกิจของระบบการสรรหาและคัดเลือก
ตอบ การสรรหา(Recruitment)
การสรรหา(Recruitment) คือ กระบวนการในการแสวงหาและจูงใจผู้สมัครงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ เริ่มต้นตั้งแต่การแสวงหาคนเข้าทำงานและสิ้นสุดเมื่อบุคคลได้มาสมัครงานในองค์การ
กระบวนการที่ควรนำมาพิจารณาในการสรรหา คือ
1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Planning) 
2. ความต้องการหรือการร้องขอของผู้จัดการ(Specific requests of managers) 
3. การระบุตำแหน่งงานที่จะรับบุคลากรใหม่(Job opening identified) 
4. รวบรวมสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job analysis information) 
5. ข้อคิดเห็นของผู้จัดการ(Manager's comments) ข้อคิดเห็นของผู้จัดการจะเป็นตัวตรวจสอบให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำด้วยความรอบคอบและลึกซึ้งมากขี้น
6. กำหนดคุณสมบัติบุคลากรตรงกับงาน(Job requirement) 
7. กำหนดวิธีการสรรหา(Methods of recruitment) ผู้สรรหาจะศึกษาแนวทางและแหล่งที่จะดำเนินการสรรหาพนักงาน 
8. ความพึงพอใจที่ได้ผู้สมัคร(Satisfactory pool of recruits)
กระบวนการสรรหา (werther and davis. 1986)
การคัดเลือก(Selection)
การคัดเลือก คือ กระบวนการที่องค์การใช้เครื่องมือต่างๆ มาดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจำนวนมากให้เหลือตามจำนวนที่องค์การต้องการ ฉะนั้นการคัดเลือกจำเป็นที่จะต้องมีเกณฑ์กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาให้ได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับงานที่เปิดรับ
การคัดเลือกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีตัวป้อนเข้า (input ) ที่ดีด้วย ตัวป้อนเข้าที่จะไปสู่การคัดเลือกนั้น มี 3 ประเภท ด้วยกัน คือ
1. การวิเคราะห์งาน ( Job analysis)
2. แผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource plans)
3. การสรรหา (Recruitment)
กระบวนการคัดเลือกมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 
ขั้นที่ 1. การต้อนรับผู้สมัคร(Preliminary reception of application)

การคัดเลือกเป็นโอกาสแรกที่ผู้สมัครจะเริ่มรับรู้เกี่ยวกับลักษณะขององค์การ ขณะเดียวกันฝ่ายบุคคลเองก็มีโอกาสสังเกตกิริยาท่าทาง เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองของผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นข้อมูลอย่างดีในการพิจารณาต่อไป
ขั้นที่ 2 การทดสอบ(Employment tests)
แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ที่นำไปเร้าให้บุคคลแสดงความสามารถและพฤติกรรมออกมา 
ขั้นที่ 3 การสัมภาษณ์(Selection interview) แบ่งเป็น 5 ประเภท
1. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured interview) การสัมภาษณ์แบบนี้ให้อิสระแก่ผู้สัมภาษณ์ 
2. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง(Structured or directive interview) คำถามแต่ละคำถามจะถูกเตรียมก่อนที่จะเริ่มสัมภาษณ์
3. การสัมภาษณ์แบบผสม(Mixed interview) การสัมภาษณ์ที่ผสมผสานระหว่างการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
4. การสัมภาษณ์แบบแก้ปัญหา(Problem-solving interviews) เป็นการสัมภาษณ์ที่เน้นแนวคิดความคิดและวิธีการที่ผู้สมัครใช้แก้ปัญหาต่อสถานการณ์ต่างๆ
5.การสัมภาษณ์แบบเข้มข้น(Stress interviews) เป็นการสัมภาษณ์เน้นสถานการณ์ในด้านความเครียดและความกดดันต่างๆ เพื่อพิจารณาปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์
ขั้นที่ 4 การตรวจสอบภูมิหลัง(References and background check)
ในขั้นนี้จะพิจารณาตรวจสอบภูมิหลังจากบริษัทเดิมหรือผู้ที่อ้างถึงในใบสมัคร ข้อมูลการตรวจสอบภูมิหลังช่วยยืนยันความแน่ใจในการตัดสินใจของคณะกรรมการได้ดีขึ้น
ขั้นที่ 5 การตรวจสุขภาพ(Medical Evaluation)
ให้ผู้สมัครตรวจสุขภาพในหน่วยงานต่างๆ ที่ทางองค์การกำหนดให้ การตรวจสุขภาพนี้ช่วยไม่ให้องค์การมีปัญหาภายหลังจากการรับพนักงานเข้ามาทำงานแล้วเกิดภัยอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากสุขภาพเบื้องต้น
ขั้นที่ 6 การประชุมปรึกษาพิจารณา(Conference)
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงาน ผู้คัดเลือกเละกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งพิจารณาตัดสินครั้งสุดท้าย คณะกรรมการชุดนี้จะร่วมกันอภิปรายความเหมาะสมในการตัดสินใจคัดเลือกให้บุคคลใดเข้าทำงานในองค์การ 
ขั้นที่ 7 ทดลองการปฏิบัติงาน(Realistic Job Preview)
ในขั้นนี้จะได้ประโยชน์แก่ผู้ถูกคัดเลือกโดยตรงเพราะจะได้สำรวจตนเองว่ามีความเหมาะสมในงานนั้นจริงหรือไม่ สามารถปรับตัวต่อสภาพการณ์ต่างได้หรือไม่
ขั้นที่ 8 การตัดสินใจจ้าง(Hiring Decision)
ดำเนินการบรรจุเป็นพนักงานขององค์การ ผู้ทำงานด้านนี้ต้องทำการติดตามผลงานของตนเองในทุกครั้งจากผู้

9 จงยกตัวอย่างการใช้งานอินทราเน็ตในองค์การ สำหรับงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ตอบ 1 การประชาสัมพันธ์ปฏิทินที่ระบุเหตุการณ์ต่างๆของบริษัท โดยเฉพาะแผนการประชุมครั้งใหญ่ โดยบุคลากรจะสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงทะเบียนการเข้าประชุม พร้อมทั้งส่งข้อมูลลงทะเบียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในระบบออน์ไลน์ได้
2 บุคลากรทำการประมวลผลตารางเวลาทำงาน ตลอดจนรายงานค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและเบี้ยหวัดของแต่ละบุคคล ผ่านระบบอินทราเน็ตได้ด้วยตนเอง
3 บุคลากร ใช้ระบบบริหารข้อมูลบุคลากรได้ด้วยตนเองผ่านระบบอินทราเน็ต

10 การเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนช่วยเพิ่มทุนทางปัญญาขององค์การในแง่ใด จงอธิบาย
ตอบ  คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในงานด้านการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้รายบุคคลซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่ออธิบายคำสอนผ่านเทคโนโลยีดิติทัล และการเรียนจะเป็นวิถีทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งมันจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนการฝึกอบรมในส่วนต้นทุนกระดาษและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

สรุปบทที่ 5

       ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้ในงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเชิงกลยุทธ์ เชิงกลวิธี และเชิงปฏิบัติการ โดยมีการปรับกระบวนการทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ ทั้งในงานด้านการบริหารและการควบคุมด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานตามหน้าที่งานรับผิดชอบของลูกจ้างแต่ละบุคคลภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะกล่าวถึง แนวคิดและความหมาย ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับผู้ใช้สารสนเทศ ซึ่งจำแนกประเภทของผู้ใช้สารสนเทศได้ 2 ประเภทคือ
      1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจ
      2 ผู้ใช้ภายนอกของธุรกิจ
       การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในกระบวนการจัดการ (Management Process ) ในส่วนของการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ซึ่งนับเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารที่จะต้องจัดสรรบุคคลที่มีคุณภาพเข้าทำงาน สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศทางธุรกิจ ซึ่งนับเป็นผลลัพท์ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจส่วนใหญ่มีการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรทั้งในรูปแบบของเอกสาร รายงานการปฏิบัติงานและรายงานเพื่อการบริหาร กระบวนการทางธุรกิจ ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผู้เขียนได้ประมวลจากความคิดของตนเอง รวมทั้งศึกษาจากตำราและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงทำการแยกประเภทย่อยได้ 8 ระบบ เทคโนโลยีทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะถูกใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งเน้นถึงการดูแลทรัพย์สินขององค์การ ในส่วนของลูกจ้างที่ถือเป็นกำลังสำคัญของการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ โดยองค์การควรยึดถือปฏบัติตามหลัก 4 ข้อ และภารกิจ 4 ประการ ของการบริหารทรัพยากรมนุาย์ อีกทั้ง มีการจำแนกสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็น 3 ประเภท คือ สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ สารสนเทศเชิงกลวิธีและสารสนเทศเชิงกลยุทธ์นั่นเอง
       ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะประกอบด้วย 8 ระบบ คือ ระบบวางแผนอัตรากำลังคน ระบบวิเคราะห์งาน ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบุคลากร ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบพัฒนาและฝึกอบรม ตลอดจนระบบสวัสดิการและผลประโยชน์ อีกทั้งองค์การมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับกระบวนการธุรกิจดังกล่าวนั่นก็คือ โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การใช้งานอินทราเน็ต รวมทั้งการจัดการทรัพยากรมนุษย์อิเล็กทรอนิกส์

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 4


องค์กรการที่ดำเนินธุรกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้งาน ซึ่งงานสำคัญที่ขององค์กรที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้จัดการระดับต่างๆ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงขององค์การ คืองานด้านการจัดการและการตัดสินใจ โดยเป็นกลไกสำคัญที่จะนำพาองค์การให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจภายในองค์การก็คือ การสร้างเครื่องมือในส่วนการนำเสนอสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจแก่องค์การดิจิทัล เพื่อช่วยสนับสนุนงานของผู้จัดการและผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆที่มักจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน อีกทั้ง ช่วยในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเหนือธุรกิจซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงแนวคิดและองค์ประกอบ การจัดการ การตัดสินใจ สารสนเทศเพื่อการจัดการ กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีทางการจัดการและการตัดสินใจ 
ธุรกิจยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจในทุกๆองค์ประกอบขึ้นใช้สำหรับผู้บริหารและผู้ตัดสินใจ โดยวิวัฒนาการของระบบจะเริ่มต้นตั้งแต่ระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจ และระบบสนับสนุนผู้บริหาร อีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้รูปแบบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม ห้องตัดสินใจและระบบสารสนเทศพิเศษต่างๆ ทั้งในรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และความเป็นจริงเสมือน เพื่อช่วยขยายขีดความสามารถของการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้นไป ในสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักถูกนำเสนอในรูปแบบรายงานที่จำแนกได้หลายรูปแบบ คือ รายงานตามกำหนดการ รายงานตัวชี้วัดหลัก รายงานตามคำขอ รายงานตามยกเว้น และรายงานเจาะลึกในรายละเอียด ผู้จัดการและผู้บริหารมักใช้รายงานเหล่านี้ สำหรับทุกๆกระบวนการทางธุรกิจ เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรมมักมีการนำเสนอในรูปแบบรายงานตามกำหนดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมักมีการนำเสนอรายงานตามคำขอและรายงานตามข้อยกเว้น อีกทั้ง ระบบสนับสนุนผู้บริหาร อาจมีการนำเสนอรายงานตัวชี้วัดหลัก และรายงานเจาะลึกในรายละเอียด เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 4


1 จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ตอบ ระบบประมวลผลธุรกรรมหรือ TPS ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบงานทั่วไปของธุรกิจ โดยมุ่งเน้นเป้าหมายด้านการลดต้นทุน และการสร้างวิธีการทำงานประจำอย่างอัตโนมัติ โดยมีการสร้างระบบธุรกิจซึ่งเน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก การดำเนินงานของธุรกิจมักเกิดรายการค้า หรือธุรกรรม ซึ่งก็คือ รายการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ เช่น การจ่ายค่าจ้างแรงงาน การขายสินค้าให้ลูกค้าและการจ่ายชำระหนี้ค่าวัสดุเป็นต้น การประมวลผลธุรกรรมจึงถือเป็นระบบประยุกต์ขั้นพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในองค์การ โดยระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลรวมขององค์การ รวมทั้งมีการสร้างรายงานมาตรฐานที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลจากระบบประมวลผลธุรกรรมหรือ เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจากงาน TPS คือ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่ในระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในระดับต่อไปนอกจากนี้ผู้บริหารยังใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์กาความผิดพลาดหรือหาความก้าวหน้าในการทำงาน โดยอาจใช้ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับค่าประมาณ ที่วางแผนไว้ แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารระดับสูงจะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือวงแผนระบบงานต่อไป

2 จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ตอบ การพัฒนากลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้นตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลาดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าในอดีต จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น  องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง นอกจากนี้กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตรของสังคมที่ถูกผลักด้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน การผลิตและการตลาดต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง

3 หากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องแล็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านจะพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางการจัดการประเภทใด เพราะเหตุใด

ตอบ ประเภทระบบผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแนะนำและกระทำการดังเช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้นๆ ซึ่งประสบการณ์ที่สะสมเป็นเวลานานก็จะไม่สูญหายไป หากผู้เชี่ยวชาญนั้นเสียชีวิต ลาออก หรือย้ายที่ทำงานใหม่

4 ระบบสารสนเทศประเภทใดที่จัดเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง ซึ่งมีการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้เพื่องานประมวลผลสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ตอบ ระบบสนับสนุนผู้บริหาร

5 จงจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศทางธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม

ตอบแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.             แบบใช้สาย แบ่งเป็น แบบสายเกลียวคู่ (Twisted-pair wires) และ แบบสายเคเบิลร่วมแกน (Coaxial cable) และแบบสายเคเบิลใยแก้ว (Fiber optic)

2.             แบบไร้สาย แบ่งเป็น การส่งข้อมูลโดยใช้คลื่นไมโครเวฟ และ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพกพา และ ระบบคลื่นวิทยุ และระบบอินฟราเรด

6 เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงต้องมีพัฒนาการด้านระบบสารสนเทศตามยุคสมัย

ตอบ เพราะจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเอาชนะคู่แข่งขันในการดำเนินงานทางธุรกิจที่จะต้องมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น

7 การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลยุทธ์ เทคโนโลยีกระบวนการในการเชื่อมโยงกิจการกับภายนอกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องในการดำเนินการด้านข้อมูล การสร้างธุรกรรมทางการค้า ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์หนึ่งไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งได้ในอนาคต

8 จงอธิบายการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การกับอีคอมเมิร์ซ

ตอบ อีคอมเมิร์ซมีการเชื่อมต่อกับองค์การด้วยการประกอบธุรกรรมในรูปแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ ดำเนินการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของเว็บ เพื่อการเข้าถึงผู้คนนับล้านคน ณ สถานที่ใดหรือเวลาใดก็ได้ เป็นต้น

9 เทคโนโลยีความจริงเสมือน มักถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านใดบ้าง

ตอบ ทหาร การแพทย์ การศึกษา การประเมิน การออกแบบ ปัจจัยมนุษย์ สถาปัตยกรรม การศึกษาด้านเออร์โกโนมิกส์ การจำลองลำดับของการประกอบ และบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์

10 เพราะเหตุใดกลุ่มผู้ตัดสินใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มจึงเกิดความเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิดเห็น โดยไม่หวั่นเกรงข้อโต้แย้งใดๆ

ตอบ เพราะ การไม่ระบุชื่อผู้นำเข้าข้อมูล ซึ่งจะทำให้การประเมินผลงานที่ปราศจากการเกรงกลัวใดๆ และยังช่วยให้ผู้นำเข้าข้อมูลเกิดความเชื่อมั่นในความเหมาะสมของผลการประเมิน การลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน เป็นการป้องกันอำนาจที่ครอบงำสมาชิกในกลุ่ม และการสื่อสารทางขนาน ซึ่งจะช่วยลดเวลาการประชุมและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการตัดสินใจของกลุ่มร่วมงาน


วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดที่ 2

1 GIGO มาจากคำเต็มว่าอะไร โดยนิยามดังกล่าวต้องการมุ่งเน้นสิ่งใดเป็นสำคัญ
            ตอบ
กิโก <คำอ่าน>ย่อมาจาก garbage in , garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออก เป็นคำกล่าวที่ใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่า ถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่ง เป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลไม่ดี ให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลไม่ดี) เข้าไป ก็จะได้ขยะ (สารสนเทศที่ไม่ดี) ออกมา

2 การที่องค์กรหรือภาคธุรกิจทั่วไปในปัจจุบันนิยมนำระบบสารสนเทศมาใช้งานกันมากขึ้นและสามารถเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศมากขึ้นสืบเนื่องมาจากสาเหตุใด ยกตัวอย่าง
           ตอบ  สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy)  หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ  “การจัดการความรู้”  (knowledge management)  เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้    สารสนเทศด้านธุรกิจจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน  ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต  ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก  อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด นโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย    ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ     จึงมุ่งปรับฐานเศรษฐกิจไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานความรู้   มีการสร้างความพร้อมและความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมของตนเองอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   ตัวอย่างเช่น ธนาคาร ที่ได้นำระบบเอทีเอ็มมาใช้ในการดำเนินงาน ที่สามารถช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบริการที่ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

3 อยากทราบว่าเหตุผล 3ประการที่ธุรกิจต่างนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรมีอะไรบ้าง
            ตอบ เหตุผลที่นำระบบสารสนเทศมาใช้คือ
1 นำไปใช้ในการสื่อสาร
2 นำไปใช้ในการประมวลผลรายงานและการจัดทำรายงาน
3นำไปใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินงาน

4ให้ยกตัวอย่างที่บอกถึงกิจการ ที่ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจใหม่เพื่อการนำสิ่งใดมาประยุกต์ใช้
            ตอบ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริการลูกค้าในระบบธนาคารออนไลน์ ของธนาคารพาณิชย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ได้นำการให้บริการฝากถอนต่างสาขานับเป็นก้าวแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคารที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าการให้บริการฝากถอนต่างสาขาถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารออนไลน์ กระบวนการปฏิบัติงานของระบบธนาคารออนไลน์อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Update Tele-Processing กล่าวคือสำนักงานสาขาทุกแห่งจะเชื่อมสายโทรศัพท์เข้ามาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มีผลให้สาขาไม่มีความจำเป็นต้องบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการบัญชี โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่แทนพนักงานในการตรวจสอบข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล และพิมพ์รายการลงบนสมุดคู่ฝากของลูกค้า

สรุปบทที่ 3


สรุปบทที่ 3

การพัฒนาระบบสารสนเทศคือ ทิศทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ภายในองค์การ การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเทคนิคของการศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ รวมทั้งวิธีการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ การทำระบบสารสนเทศให้เกิดผล และการประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศนั้น เพื่อนำข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศ ที่ถูกนำมาใช้แล้วในระยะหนึ่ง มาทำการปรับปรุงแก้ไขระบบให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงหัวข้อ การวางแผนระบบสารสนเทศคือ แนวคิด กลยุทธ์ธุรกิจ กระบวนการวางแผน และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแบ่งออกเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต การได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ แบ่งได้ 3 แนวทางที่ธุรกิจสามารถจัดหาระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์การดังนี้

1 แนวทางที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์

2 แนวทางที่ 2 การใช้บริการภายนอก

3 แนวทางที่ 3 การพัฒนาระบบขึ้นใช้งานภายในองค์การเอง

การพัฒนาระบบ เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสงาน การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศ และบุคคลสารสนเทศ เป็นต้น

การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นแนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศไว้ใช้งานภายในองค์การธุรกิจ โดยเริ่มต้นจากการวางแผนระบบสารสนเทศ เพื่อกำหนดถึงแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ จากนั้น จึงทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจ และธำรงรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ จากนั้น จึงทำการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานภายในองค์การ หรือจัดจ้างองค์การภายนอกให้พัฒนาระบบให้ตามที่ต้องการ

สำหรับการดำเนินการพัฒนาระบบจะอยู่ภายใต้วัฏจักรการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน หรือวิศวกรรมสารสนเทศ 4 ขั้นตอน ก็อาจเป็นได้แล้วแต่ความเหมาะสม โดยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออกแบบระบบประกอบด้วย เพื่อให้ระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ถูกนำไปใช้โดยบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในส่วนการพัฒนาระบบอาจใช้เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลช่วยวิเคราะห์โครงสร้างระบบสารสนเทศ รวมทั้งกระแสข้อมูลภายในระบบอีกด้วย และสามารถใช้แผนภาพกระแสงานเพื่อสื่อกับผู้ใช้ระบบ โดยมุ่งเน้นให้ระบบที่พัฒนาขึ้นตรงความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น อนึ่ง ในการทำระบบสารสนเทศให้เกิดผล ควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานสารสนเทศตลอดจนบุคลากรด้านสารสนเทศ ที่ผ่านกระบวนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้การใช้ทรัพยากรขององค์การเป็นไปอย่างคุ้มค่าอีกด้วย






แบบฝึกหัดบทที่ 3

แบบฝึกหัดบทที่ 3
1 วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คืออะไร

ตอบ การวางแผนเชิงกลยุทธ์  ก็เพื่อนำมาใช้สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และทราบถึงระบบสารสนเทศที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาตามลำดับก่อน หลัง โดยมีการกำหนดแผนในระยะสั้นและระยะยาว

2 จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

ตอบ แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการทำเพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จากแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอาทิเช่น ชิปอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยเก็บ สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์แบบควอนตันนาโนเทคโนโลยี ซึ่งยังมีแนวโน้มของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายในหลากหลายรูปแบบ อาทิ อินเทอร์เน็ตและเว็บ อินทราเน็ต เอกซ์ทราเน็ต คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และการพาณิชย์เคลื่อนที่ ศูนย์รวมวิสาหกิจ  ที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ในอนาคต เป็นต้น

3 จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ซ

ตอบ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่นิยมนำมาใช้ในแผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ซนั้นมักใช้ในองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลและการเรียกใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตยังมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลเชิงวัตถุและฐานข้อมูลหลายมิติมาใช้งานทางธุรกิจร่วมกับเทคโนโลยีโกดังข้อมูล และเทคโนโลยีเหมืองข้อมูลเป็นต้น

4 หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด

ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานต่างๆ ในสำนักงานในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ในรูปแบบ IT Office เป็นต้น

5 จงระบุถึง ผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับ อันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ

ตอบ ประโยชน์ที่องค์การจะได้รับ จากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจคือ การติดต่อสื่อสารที่ดี และการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยลง และก่อให้เกิดสภาพสำนักงานไร้กระดาษ และเพิ่มศักยภาพในการทำงานของแต่ละบุคคลได้ ทั้งยังเป็นการธำรงรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การในสายตาของผู้บริโภค

6 การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง

ตอบ 1 ระบบพร้อมสรรพ คือ ซอฟต์แวร์ที่จะได้รับการพัฒนาอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์และผ่านการทดสอบโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว จึงพร้อมที่จะติดตั้งใช้งานได้ทันที

2 ระบบแกนหลักคือ ซอฟต์แวร์ประกอบด้วยโครงสร้างของระบบพื้นฐานโดยมีการวางโปรแกรมตรรกะของการประมวลผลใช้ล่วงหน้า และผู้ขายจะต้องทำการออกแบบในส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า

7 ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคืออะไร

ตอบ ในการใช้บริการภายนอก (Outsourcing) เป็นรูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ มักจัดอยู่ในรูปแบบของการสนับสนุนจากผู้ขาย ซึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้น โดยผ่านการออกแบบ การทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า  ทางเลือกของระบบนี้คือ งานบริการทางกฎหมาย ที่มีความต้องการของระบบที่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาพนักงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ ในส่วนของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะอยู่ภายใต้วัฏจักรการพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นการใช้ทีมงานพัฒนาระบบจากภายนอกองค์การ

8 วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใดที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง

ตอบ วิธีการพัฒนาระบบทั้ง 5 วิธี ไม่ว่าจะเป็น วิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ ล้วนแล้วแต่สอดคล้องกับวิธีจากบนลงล่างทั้งสิ้น

9 วิธีการพัฒนาระบบแบบใด ที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้การพัฒนาระบบมากที่สุด

ตอบ วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว

10 เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม

ตอบ เพราะวิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยมีรูปแบบดังนี้คือ แบบอนุรักษ์ แบบตรวจทาน และรูปแบบเหลื่อม ซึ่งทั้งสามเป็น รูปแบบใช้ขั้นตอนของวัฏจักรการพัฒนาระบบมาประยุกต์ใช้กับแบบจำลองทั้ง สามรูปแบบ

11 เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบ และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร

ตอบ เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูล เป็นเครื่องมือ ที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างเพื่อแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งออกกับกระบวนการ ที่บ่งชี้ถึงขั้นตอนการทำงานของระบบ แต่ไม่สื่อให้เห็นถึงวิธีประมวลผลของระบบ  ซึ่งแผนภาพกระแสเป็นเอกสารที่มักถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน อีกทั้งยังสามารถดำเนินการพัฒนาระบบจนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

12 จงเขียนแผนภาพกระแสงานของระบบนักเรียนนักศึกษา ในส่วนของ การลงทะเบียนเรียนการเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียน
            ตอบ




วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 2

         ระบบสารสนเทศ จำเป็นจะต้องเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ที่รวมตัวกันอย่างเหมาะสมภายใต้แบบจำลองของระบบสารสนเทศ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนการรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ที่ช่วยอำนวยความสะดวกตามหน้าที่งานทั้งด้านปฏิบัติการและด้านสนับสนุนการตัดสินใจ โดยถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อจัดหาสารสนเทศที่ผู้จัดการสามารถใช้วางแผนและควบคุมกิจกรรมการทำงานด้านต่างๆของธุรกิจ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ภายในฐานข้อมูล อีกทั้งมีการใช้แบบจำลองการตัดสินใจ เพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่เป็นผลลัพท์ของการตัดสินใจ และการก่อกำเนิดสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อองค์การ ในส่วนสนับสนุนการทำงานของกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โซ่คุณค่าและระบบคุณค่ารวมทั้งบทบาทของระบบสารสนเทศด้านการสนับสนุนงานในองค์การ และเพิ่มมูลค่าให้องค์การ ระบบสารสนเทศที่นำมาสนับสนุนการทำงานในองค์การอาจเป็นได้ทั้งระบบเอกเทศ (Standalone Systems) และระบบบูรณาการ (Integrated Systems) ตลอดจนมีการเพิ่มส่วนประกอบด้านอัจฉริยะเพื่อบูรณาการด้านหน้าที่งานส่วนเพิ่ม รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
          จากการจำแนกประเภทระบบสารสนเทศทั้ง 3 รูปแบบ คือ ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ และระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ซึ่งในอนาคตทั้ง 3 ประเภท อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว และระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ มักจะถูกดำเนินการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอกซ์ทราเน็ต โดยใช้รูปแบบของสารสนเทศบนเว็บเป็นเครื่องมือประมวลผลของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งดำเนินรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          ดังนั้น การจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศ อาจจะจำแนก โดยใช้เกณฑ์ระดับขององค์การ ทั้งในส่วนหน้าที่งาน วิสาหกิจ และการบูรณาการระหว่างองค์การ อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บที่มีต้นทุนต่ำและยังเพิ่มขีดความสามารถของระบบเดิมอีกด้วย โดยใช้ในส่วนการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การและระหว่างองค์การ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการแพร่กระจายสารสนเทศไปทั่วโลก ซึ่งก็คือแนวโน้มของระบบสารสนเทศในอนาคตซึ่งมีจุดมุ่งเน้นด้านการบูรณาการระบบสารสนเทศโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเว็บ เป็นต้น

แบบฝึกหัดบทที่ 2


1 จากส่วนประกอบทั้ง 7 ส่วนของระบบสารสนเทศ ส่วนใดที่ถือเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศ
ตอบ  การจัดการฐานข้อมูล ซึ่งการจัดการฐานข้อมูลคือ หน่วยเก็บข้อมูลทางกายภาพสำหรับข้อมูลที่อาจมีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับกาลเงิน และในส่วนของข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูล จะประกอบด้วยหน่วยเก็บข้อมูลที่เรียงลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปหาหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ ลักษณะประจำ (Attribute) ระเบียบ (Record) และแฟ้มข้อมูล (File) ในส่วนการจัดการฐานข้อมูล (Database Management จะเกี่ยวข้องกับงานพื้นฐาน 3 งาน คือ การจัดเก็บ (Storage) การค้นคืน (Retrieval และการลบ (Deletion) ข้อมูล
2 ในส่วนผลป้อนกลับของระบบสารสนเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตของการจัดการระบบสารสนเทศอย่างไร
ตอบ  เพื่อรายงานแสดงสถานะของสินค้าคงเหลือ จะถูกใช้เพื่อส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมสินค้าคงเหลือทราบยอดสินค้าที่ขาดหายไปหรือยอดคงเหลือของสินค้าที่ต่ำกว่าจุดสั่งซื้อ ผลป้อนกลับของสารสนเทศ
2.1 เพื่อปรับยอดสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง
2.2 เป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งซื้อสินค้า
3 หากท่านดำเนินธุรกิจ ร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะนำระบบสารสนเทศประเภทใดบ้างมาใช้ในธุรกิจ เพราะเหตุใด
ตอบ นำระบบสารสนเทศทั้ง 7 ประเภทมาใช้ เพราะ จะช่วยสนับสนุนหน้าที่งานด้านการจัดการ การสนับสนุนหน้าที่งานด้านการตัดสินใจ และการสนับสนุนหน้าที่งานด้านปฏิบัติการ ที่จะทำให้เกิดการทำงานอย่างเหมาะสม และสามารถบริหารจัดการได้ตรงตามความต้องการ ทั้งยังเป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
4 ระบบสารสนเทศถูกวางไว้ที่ตำแหน่งใดภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ จงอธิบาย
ตอบ 1 การจัดการต้นทาง โดยใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดหาวัตถุดิบ การติดตามรอยวัตถุดิบขาเข้าและการควบคุมวัตถุดิบคงเหลือ
        2 การผลิต โดยใช้ระบบสารสนเทศด้านการควบคุมการผลิต
        3 การจัดการตามทางโดยมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านหน่วยเก็บและค้นคืนสินค้าอัตโนมัติด้านวางแผนการกระจายสินค้า ด้านวางแผนการส่งเสริมการขายรวมทั้งด้านการติดตามรอยและการควบคุมงานบริการลูกค้า
5 จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับภายใต้การใช้ระบบสารสนเทศที่ดี
ตอบ 1 การลดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิผล (Cost Reduction and Productivity) ที่สามารถช่วยพัฒนางานหรือปรับปรุงการทำงาน การลดจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนการผลิตและดำเนินงาน การเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการและการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
        2 การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive advantage)
        3 การจัดการเชิงผลการปฏิบัติงาน (performance Based Managements)
6 จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศในอนาคต
ตอบ ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่า องค์การขนาดกลางและขนาดใหญ่จะใช้ระบบสารสนเทศบนเว็บโดยมีการใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ ( web Browser) เพื่อการสื่อสารความร่วมมือ และการเข้าถึงสารสนเทศบนเว็บโดยมีการใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ Web Browser เพื่อการสื่อสารความร่วมมือ และการเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมาก รวมทั้งการดำเนินการและการประมวลผลด้วยวิธีการของระบบสารสนเทศบนเว็บ
7 ระบบสารสนเทศประเภทใด ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการเชื่อมโยงโซ่คุณค่าขององค์การเข้ากับโซ่คุณค่าขององค์การภายนอก
ตอบ โซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยการใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อโซ่คุณค่าขององค์การกับโซ่คุณค่าขององค์การภายนอก ซึ่งเป็นคู่ค้าเข้าด้วยกัน โดยมักอาศัยการดำเนินการงานด้านการจัดการโซ่อุปทาน SCM และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ CRM เป็นต้น
8 จงอธิบายการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การกับอีคอมเมิร์ซ
ตอบ อีคอมเมิร์ซ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบของธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) ธุรกิจสู่ผู้บริโภค (B2C) ผู้บริโภคสู่ผู้บริโภค (C2C) ธุรกิจสู่หน่วยสาธารณะ ตลอดจนผู้บริโภคสู่หน่วยสาธารณะ โดยภาพส่วนใหญ่ของอีคอมเมิร์ซซึ่งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ การประกอบธุรกรรมในรูปแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ โดยมีการจัดซื้อวัสดุและชิ้นส่วนเข้าบริษัทนั่นเอง ซึ่งการเจริญเติบโตในครั้งนี้ มักถูกกระตุ้นด้วยจำนวนครั้งของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น การสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ การสร้างระบบจ่ายชำระหนี้ที่ดี และการปรับปรุงความมั่นคงของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เพิ่มขึ้น
9 จงอธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และลูกจ้างเคลื่อนที่
ตอบ คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ คือ ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่และอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ระบบมักเกิดความต้องการด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การในทันที โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่การพาณิชย์เคลื่อนที่ (Mobile Commerce) หรือ เอ็มคอมเมิร์ซ คือ การสร้างธุรกรรม ณ สถานที่ใดๆ และเวลาใดก็ได้ภายใต้ระบบสื่อสารไร้สาย โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไร้สาย อาทิเช่น การเชื่อมต่อเครื่องพีดีเอกับโทรศัพท์แบบรังผึ้ง โดยเอ็มคอมเมิร์ซ คือ วิวัฒนาการล่าสุดของอีคอมเมิร์ซ เป็นระบบที่เข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่เสียบปลั๊กไฟ เพียงแต่ใช้อุปกรณ์ซึ่งมักเรียกกันว่า สมาร์ตโฟน (Smarts Phones)
10 จงยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศบนเว็บ ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่น มาสัก 2 ตัวอย่าง
 ตอบ ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ
1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)
เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย
ตัวอย่าง
·         ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
              บันทึกข้อมูลทางการพยาบาล เช่น
1.             North American Nursing Diagnosis Association : NANDAสมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ
2.             Nursing Intervention Classification : NIC ใช้ตัดสินว่าจะให้การบาบัดทางการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเพื่อแก้/บรรเทาปัญหาทางสุขภาพ
3.             Nursing Outcome Classification : NOC ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน
4.             International Classification Nursing Practice : ICNP การใช้คามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล
2  ระบบ TeleradiologyTeleDiag คือ Teleradiology ของคนไทย ที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย เป็นระบบ Telemedicine ที่สนับสนุนงานด้านรังสีวินิจฉัย การอ่านและวินิจฉัยผลในระยะไกล จากเครื่อง x-ray computer เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการในด้านการ วินิจฉัยสุขภาพอย่างทั่วถึง ปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นผลงานการพัฒนาของ บริษัท โปรดิจิส์ จำกัดและ
ระบบสารสนเทศที่หน่วยงานนำมาใช้ : งานในด้านสารสนเทศของบริษัททีโอทีบริษัทจะมีการนำสารสนเทศเข้ามาใช้หลายระบบซึ่งแต่ละระบบจะมีความสามารถเฉพาะตัว เช่น
- ระบบอินเทอร์เน็ต จะช่วยงานในการประชาสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้า
- ระบบเอ็กทราเน็ตจะนำมาใช้กับงานภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับบุคลากรภายในองค์กร
- ระบบ CRM ช่วยในการเก็บฐานข้อมูลลูกค้า
- ระบบSAP นำมาช่วยงานในด้านการเงินและบัญชี