วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 2

         ระบบสารสนเทศ จำเป็นจะต้องเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ที่รวมตัวกันอย่างเหมาะสมภายใต้แบบจำลองของระบบสารสนเทศ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนการรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ที่ช่วยอำนวยความสะดวกตามหน้าที่งานทั้งด้านปฏิบัติการและด้านสนับสนุนการตัดสินใจ โดยถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อจัดหาสารสนเทศที่ผู้จัดการสามารถใช้วางแผนและควบคุมกิจกรรมการทำงานด้านต่างๆของธุรกิจ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ภายในฐานข้อมูล อีกทั้งมีการใช้แบบจำลองการตัดสินใจ เพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่เป็นผลลัพท์ของการตัดสินใจ และการก่อกำเนิดสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อองค์การ ในส่วนสนับสนุนการทำงานของกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โซ่คุณค่าและระบบคุณค่ารวมทั้งบทบาทของระบบสารสนเทศด้านการสนับสนุนงานในองค์การ และเพิ่มมูลค่าให้องค์การ ระบบสารสนเทศที่นำมาสนับสนุนการทำงานในองค์การอาจเป็นได้ทั้งระบบเอกเทศ (Standalone Systems) และระบบบูรณาการ (Integrated Systems) ตลอดจนมีการเพิ่มส่วนประกอบด้านอัจฉริยะเพื่อบูรณาการด้านหน้าที่งานส่วนเพิ่ม รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
          จากการจำแนกประเภทระบบสารสนเทศทั้ง 3 รูปแบบ คือ ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ และระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ซึ่งในอนาคตทั้ง 3 ประเภท อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว และระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ มักจะถูกดำเนินการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอกซ์ทราเน็ต โดยใช้รูปแบบของสารสนเทศบนเว็บเป็นเครื่องมือประมวลผลของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งดำเนินรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          ดังนั้น การจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศ อาจจะจำแนก โดยใช้เกณฑ์ระดับขององค์การ ทั้งในส่วนหน้าที่งาน วิสาหกิจ และการบูรณาการระหว่างองค์การ อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บที่มีต้นทุนต่ำและยังเพิ่มขีดความสามารถของระบบเดิมอีกด้วย โดยใช้ในส่วนการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การและระหว่างองค์การ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการแพร่กระจายสารสนเทศไปทั่วโลก ซึ่งก็คือแนวโน้มของระบบสารสนเทศในอนาคตซึ่งมีจุดมุ่งเน้นด้านการบูรณาการระบบสารสนเทศโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเว็บ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น