วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 7

         การดำเนินกิจกรรมด้านการขายและการตลาดจะถือเป็นภาระงานที่สำคัญภายใต้โซ่คุณค่าขององค์กร ที่สืบเนื่องจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มักเน้นที่ความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินด้านการตลาด รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคคลากรของทุกหน่วยงาน ในการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบต่อลูกค้าทุกราย อันจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
          ระบบสารสนเทศทางการตลาด เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้สำหรับงานด้านการตลาดในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโปรแกรมทางหการตลาดที่ดี จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้ขาย ตลอดจนผู้ที่มีบทบาทอื่นทางการตลาดด้วยเนื่องจากในปัจจุบัน ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ผู้ซื้อมีทางเลือกเพิ่มขึ้น วิธีการทางการตลาดมีความซับซ้อนขึ้น อีกทั้งธุรกิจยังจำเป็นต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุนี้ การใช้สารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์จึงยิ่งจะทวีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบทนี้จะประกอบด้วย แนวคิดและความหมาย หลักการตลาด สารสนเทศทางการตลาด กระบวนการทางธุรกิจ และเทคโนโลยีทางการตลาด
          ระบบสารสนเทศทางการตลาด มักถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ทางการตลาด การขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตั้งราคาผลิตภัณฑ์และการสื่อสารการตลาด โดยมุ่งเน้นถึงกระบวนการส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วยการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่า และการสื่อสารคุณค่าให้ลูกค้าทราบ โดยธุรกิจจะต้องดำรงบทบาททางการตลาดที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ โดยอาศัยสารสนเทศทางการตลาดที่ธุรกิจมักได้รับ ทั้งในเชิงปฏิบัติการและในเชิงบริหาร
ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการตลาด จะประกอบด้วย 4 ระบบหลักและ 6 ระบบย่อย คือ ระบบระเบียบข้อมูลในกิจการ ทั้งในส่วนระบบสารสนเทศทางการขาย และระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ระบบอัจฉริยะทางการตลาด ระบบวิจัยการตลาด ระบบสนันสนุนการตัดสินใจทางการตลาด ทั้งในส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ และด้านการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับกระบวนการธุรกิจดังกล่าว คือ การใช้งานอินทราเน็ต การใช้งานอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด

แบบฝึกหัดบทที่ 6


1. จงอธิบายเป้าหมายทางการผลิตทั้งในส่วนของธุรกิจและองค์การคู่ค้า
ตอบ เป้าหมายของผู้ผลิต คือ การผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตสินค้าและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
เป้าหมายองค์การคู่ค้า คือ การซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในอัตราที่มีปริมาณมากและราคาถูกเพื่อที่จะนำมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
2. จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานด้านการผลิต
ตอบ การใช้ระบบบนเว็บที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์จักรยาน เป็นต้น
3. การดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าและธุรกิจบริการมีการจัดการผลิตต่างกันอย่างไร
ตอบ ธุรกิจผลิตสินค้า คือ ธุรกิจที่มีการนำวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านการแปรสภาพนำมาผลิตเป็นสินค้า
ธุรกิจบริการ คือ การนำสินค้าที่ได้จากฝ่ายผลิตสินค้านำมาบริหารจัดการทางด้านการตลาดเพื่อให้มีผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
4. ธุรกิจมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนการผลิตอย่างไร
ตอบ 1. การวางแผนการปฏิบัติการในด้านการผลิต การควบคุมคุณภาพ การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการผลิต
2. ด้านการจัดการโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้าไปยังผู้ขายสินค้าดังรายละเอียดต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 คือ การดำเนินการผลิต
ขั้นตอนที่ 2 การควบคุมคุณภาพในการผลิต
ขั้นตอนที่ 3 การควบคุมคุณภาพหลังจากเสร็จสิ้นในขั้นตอนที่ 2 ก็จะเป็นเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทั้งสามระบบมีความเกี่ยวข้องกันในกระบวนการผลิตสินค้า

5. ระบบสารสนเทศทางการผลิตมีการเชื่อมโยงข้อมูลกันในแต่ละระบบย่อยอย่างไร
ตอบ  มีกระบวนการผลิตที่เป็นระบบซึ่งในแต่ละระบบจะทำหน้าที่ของใครของมันโดยการไล่ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่อยู่ล่างสุดไล่มาจนถึงบนสุด
6. เพราะเหตุใดจะต้องมีการออกแบบกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับคำสั่งซื้อของลูกค้า
ตอบ เนื่องจากเป็นการผลิตแบบเป็นล็อตหรือผลิตในปริมาณน้อยซึ่งให้ตรงกับออเดอร์ ที่ลูกค้าสั่ง อีกทั้งการผลิตแบบนี้สามารถทำการได้เปรียบทางการแข่งขันจากคู่แข่งขันได้
7. การจัดการโลจิสติกส์ทางการผลิตมุ่งเน้นถึงการจัดการงานส่วนใดบ้าง
ตอบ การคอมพิวเตอร์ข่ายผลิต การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์และการผลิตแบบยืดหยุ่น
8. ปัจจุบันการจัดการซุอุปทานถูกนำมาทดแทนการจัดการโลจิสติกส์ได้หรือไม่
ตอบได้ เนื่องจากการจัดการโลจิสติกส์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้ คือ สามารถเลือกใช้ระบบใดระบบหนึ่งได้หรือจะนำทั้งสองระบบมาประยุกต์ใช้รวมกันก็ ได้
9. จงยกตัวอย่างการใช้สารสนเทศจากภายนอกองค์การ
ตอบ 1.สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ
2. สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ
10. จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีทางการผลิตที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
ตอบ  บริษัท CP RAM (ในเครือเจริญโภคภัณฑ์)

สรุปบทที่ 6

         ระบบสารสนเทศทางการผลิต การผลิตและการดำเนินงานคือ หน้าที่งานหนึ่งทางธุรกิจซึ่งรับผิดชอบสำหรับกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิต เพื่อเข้าสู่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ นั่นคือ สินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งถ้าหากมีการเปรียบเทียบกับหน้าที่งานด้านอื่นของธุรกิจแล้ว พื้นที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงานจะถูกแบ่งแยกเป็นพื้นที่ย่อมที่มีความหลากหลาย อันสืบเนื่องจากการที่ธุรกิจมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบนั่นเอง ดังนั้น องค์การธุรกิตจึงจำเป็นต้องมีการจัดการการผลิตและดำเนินงาน (production and operation management : POM) ที่มีประสิทธภาพ ตลอดจนมีการใช้สารสนเทศทางการผลิตเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนด้วย
         ระบบสารสนเทศทางการผลิต นับเป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศทางการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมการผลิตและดำเนินงาน ตลอดจนมีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่่งเป็นผลลัพท์จากกระบวนการผลิต ซึ่งความต้องการสารสนเทศนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรเช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม จะมีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากธุรกิจบริการ หรือธุรกิจบริการในโรงพยาบาล จะมีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากธุรกิจบริการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
         ในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อย่อย คือ  แนวคิดและความหมาย การจัดการการผลิตและการดำเนินงานสารสนเทศทางการผลิต กระบวนการทางธุรกิจ และเทคโนโลยีทางการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการผลิตถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่างๆ ทางการผลิต เช่น การออกแบบระบบงาน การดำเนินการผลิต และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น และจะต้องมีการประมวลผลทางธุรกรรมทางการผลิตเป็นพื้นฐานข้อมูลของระบบ โดยมุ่งเป้าหมายด้านการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในระยะยาว ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสารสนเทศทางการผลิตที่ธุรกิจได้รับทั้งในเชิงปฏิบัติการและในเชิงบริหาร ตลอดจนสารสนเทศที่ได้จากภายนอกองค์กรทั้งจากองค์การคู่ค่า เช่น ผู้ขายวัสดุ และผู้ขนส่งวัสดุ ตลอดจนองค์การคู่แข่งขันของธุรกิจ ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการผลิต จะประกอบด้วย 5 ระบบหลักคือ ระบบออกแบบการผลิต ระบบวางแผนการผลิต ระบบจัดการโลจิสติกส์ ระบบดำเนินการผลิต และระบบควบคุมการผลิต ซึ่งการประมวลของระบบต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการผลิตอาทิ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต การใช้หุ่นยนต์ การใช่รหัสแท่ง การใช้งานอินเทอร์เน็ต การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบบูรณาการทางการผลิต และระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการนำเสนอสารสนเทศทางการผลิตที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์