วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 5


1 จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1ตัวอย่างเช่น ถ้าหากองค์กรของคุณมีการวางแผนที่จะว่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 50 % หรืออาจจะมากกว่านั้นในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป การนำ HRIS มาใช้ก็จะสามารถช่วยให้คุณวางแผนและนำไปใช้ได้ทั่วทั้งองค์กรของคุณ โดยจุดสำคัญที่ต้องตระหนักถึงก็คือ การวางระบบสารสนเทศในงานทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ กระบวนการ มากกว่าจะเป็นการเป็นแค่เพียงสินค้าชิ้นหนึ่งเท่านั้น  การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของพนักงานของคุณเอง จะเป็นโอกาสอันดีที่ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดและพิจารณามองถึงนโยบาย รวมถึงกระบวนการต่างๆ ของงานทรัพยากรมนุษย์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากองค์กรของคุณไม่เคยได้มีการลงมือทำมันมาก่อนเลย ขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้น่าจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าข้อมูลต่างๆของพนักงานในองค์กรของคุณนั้นจะถูกจัดการได้เป็นอย่างดี
2บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เดิมมีหน่วยงาน การบุคคลกลาง ทำหน้าที่ดูแลงาน Hr ของเครือฯ ต่อมามีการปรับโครงสร้าง และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น Hr Corporate Center ทำหน้าที่บทบาทในการวางกลยุทธ์ คัดเลือกซอฟท์แวร์ สารสนเทศ และหาเครื่องมือการบริหารสมัยใหม่ อาทิ Hr Best Practice, Knowledge Management หรือ E-Hr มา ใช้กับเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมใหม่เป็นอย่างมาก บริษัทซีเกทเทคโนโลยี ได้ออกแบบโครงสร้างองค์กร ของหน่วยงาน Hr ได้น่าสนใจทีเดียว อาทิ หน่วยงาน Hr Strategic Planning and Project Management หน่วยงาน Hr Products Center นำระบบ Six Siqma มาใช้กับงาน Hr หรือมีตำแหน่งงาน HRIT Director ซึ่งเป็นบุคลากรที่จบทางสายงานคอมพิวเตอร์มาดูแลงาน HRIT โดยตรงซึ่งถือ ว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับ วงการ Hr ในบ้านเรา และบริษัทซีเกท เทคโนโลยี ถือว่าเป็นบริษัทแรกๆ ของโลกที่ออกแบบและพัฒนาระบบงาน HRIS เป็นของตนเอง ภายใต้ชื่อ Hr Central และนำระบบดังกล่าวใช้ติดต่อดูฐานข้อมูลพนักงานออนไลน์ถึงกันได้ทั่วโลก

2 จงเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารงานบุคคล และการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ตอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในกระบวนการจัดการ (Management process) ในส่วนของการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ซึ่งนับเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารที่จะต้องจัดสรรบุคคลที่มีคุณภาพเข้าทำงาน รวมถึงการพัฒนาและธำรงรักษาไว้ซึ่งลูกจ้างที่มีความสามารถ ซึ่งนับถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและยาวนานส่วน การบริหารงานบุคคล ก็คือการดำเนินงานและพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ โดยมีจุดเน้นที่การพัฒนาบุคคลและการจัดการด้านศักยภาพของบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การตามเป้าหมาย

3 จากหลัก 4 ข้อ และภารกิจ 4 ประการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านคิดว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร
ตอบ สอดคล้อง เนื่องจากหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์และภารกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ข้างต้น สามารถใช้เป็นแนวทางได้การระบุขอบเขตงานของระบบสารสนเทศบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสอดคล้องกันได้ เพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่สนองความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหารที่รับผิดชอบในงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเต็มที

4 หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีประสิทธิภาพท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1 ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2 ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีประสิทธิภาพ
3 บุคลากรจะได้รับการพัฒนาตนเอง ทั้งในส่วนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน ตลอดจนมีความก้าวหน้าในงานอาชีพ
4 บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับ จึงมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
5 บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6 องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงาน และดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
7 องค์กรมีโอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือและร่วมใจในการทำงาน
8 สังคมอยู่ได้อย่างสันติสุข เนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากการทำงาน
9 ประเทศชาติมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะองค์การเติบโตอย่างมั่นคง

5 จงยกตัวอย่างสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่นำเสนอต่อผู้บริหารระดับกลางในองค์การ
ตอบ จากตัวอย่าง KM กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งการเสวนากับผู้บริหารสถาบัน และคณบดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ รับทราบนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน หลักและวิธีการบริหารจัดการของผู้บริหาร ความคาดหวังที่ผู้บริหารมีต่อผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารระดับกลางในทัศนะของผู้บริหารข้างต้นโดยสรุปจะต้องใช้ความรู้และทักษะหลายด้านด้วยกัน ดังนี้ หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ด้านความรู้ ความรู้ที่ผู้บริหารระดับกลางพึงมีที่สำคัญ คือ 2.1  ต้องรู้ระเบียบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง  2.2  ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นในระดับผู้บริหาร   2.3  ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

6 สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงาน มักมีผลประโยชน์ต่อองค์การและบุคลากรอย่างไร
ตอบ สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงาน ถือเป็นภาระงานหนึ่งของผู้บริหารระดับสูง ที่จะต้องเจรจาต่อรองแรงงานกับสหภาพแรงงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรกับผู้บริหารระดับสูง และระหว่างบุคลากรกับบุคลากรด้วยกันเอง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารเกี่ยวกับสารสนเทศนี้กับบุคลากรและหน่วยงานภายนอกเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

7 ท่านคิดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีใดอย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เพราะเหตุใด
ตอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเป็นวิถีทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นภาวะหน้าที่หนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งช่วยให้ประหยัดเวลา ลดต้นทุนการฝึกอบรมในส่วนต้นทุนกระดาษและค่าใช้จ่ายในการเสนอขาย

8 จงอธิบายกระบวนการธุรกิจของระบบการสรรหาและคัดเลือก
ตอบ การสรรหา(Recruitment)
การสรรหา(Recruitment) คือ กระบวนการในการแสวงหาและจูงใจผู้สมัครงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ เริ่มต้นตั้งแต่การแสวงหาคนเข้าทำงานและสิ้นสุดเมื่อบุคคลได้มาสมัครงานในองค์การ
กระบวนการที่ควรนำมาพิจารณาในการสรรหา คือ
1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Planning) 
2. ความต้องการหรือการร้องขอของผู้จัดการ(Specific requests of managers) 
3. การระบุตำแหน่งงานที่จะรับบุคลากรใหม่(Job opening identified) 
4. รวบรวมสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job analysis information) 
5. ข้อคิดเห็นของผู้จัดการ(Manager's comments) ข้อคิดเห็นของผู้จัดการจะเป็นตัวตรวจสอบให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำด้วยความรอบคอบและลึกซึ้งมากขี้น
6. กำหนดคุณสมบัติบุคลากรตรงกับงาน(Job requirement) 
7. กำหนดวิธีการสรรหา(Methods of recruitment) ผู้สรรหาจะศึกษาแนวทางและแหล่งที่จะดำเนินการสรรหาพนักงาน 
8. ความพึงพอใจที่ได้ผู้สมัคร(Satisfactory pool of recruits)
กระบวนการสรรหา (werther and davis. 1986)
การคัดเลือก(Selection)
การคัดเลือก คือ กระบวนการที่องค์การใช้เครื่องมือต่างๆ มาดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจำนวนมากให้เหลือตามจำนวนที่องค์การต้องการ ฉะนั้นการคัดเลือกจำเป็นที่จะต้องมีเกณฑ์กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาให้ได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับงานที่เปิดรับ
การคัดเลือกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีตัวป้อนเข้า (input ) ที่ดีด้วย ตัวป้อนเข้าที่จะไปสู่การคัดเลือกนั้น มี 3 ประเภท ด้วยกัน คือ
1. การวิเคราะห์งาน ( Job analysis)
2. แผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource plans)
3. การสรรหา (Recruitment)
กระบวนการคัดเลือกมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 
ขั้นที่ 1. การต้อนรับผู้สมัคร(Preliminary reception of application)

การคัดเลือกเป็นโอกาสแรกที่ผู้สมัครจะเริ่มรับรู้เกี่ยวกับลักษณะขององค์การ ขณะเดียวกันฝ่ายบุคคลเองก็มีโอกาสสังเกตกิริยาท่าทาง เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองของผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นข้อมูลอย่างดีในการพิจารณาต่อไป
ขั้นที่ 2 การทดสอบ(Employment tests)
แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ที่นำไปเร้าให้บุคคลแสดงความสามารถและพฤติกรรมออกมา 
ขั้นที่ 3 การสัมภาษณ์(Selection interview) แบ่งเป็น 5 ประเภท
1. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured interview) การสัมภาษณ์แบบนี้ให้อิสระแก่ผู้สัมภาษณ์ 
2. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง(Structured or directive interview) คำถามแต่ละคำถามจะถูกเตรียมก่อนที่จะเริ่มสัมภาษณ์
3. การสัมภาษณ์แบบผสม(Mixed interview) การสัมภาษณ์ที่ผสมผสานระหว่างการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
4. การสัมภาษณ์แบบแก้ปัญหา(Problem-solving interviews) เป็นการสัมภาษณ์ที่เน้นแนวคิดความคิดและวิธีการที่ผู้สมัครใช้แก้ปัญหาต่อสถานการณ์ต่างๆ
5.การสัมภาษณ์แบบเข้มข้น(Stress interviews) เป็นการสัมภาษณ์เน้นสถานการณ์ในด้านความเครียดและความกดดันต่างๆ เพื่อพิจารณาปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์
ขั้นที่ 4 การตรวจสอบภูมิหลัง(References and background check)
ในขั้นนี้จะพิจารณาตรวจสอบภูมิหลังจากบริษัทเดิมหรือผู้ที่อ้างถึงในใบสมัคร ข้อมูลการตรวจสอบภูมิหลังช่วยยืนยันความแน่ใจในการตัดสินใจของคณะกรรมการได้ดีขึ้น
ขั้นที่ 5 การตรวจสุขภาพ(Medical Evaluation)
ให้ผู้สมัครตรวจสุขภาพในหน่วยงานต่างๆ ที่ทางองค์การกำหนดให้ การตรวจสุขภาพนี้ช่วยไม่ให้องค์การมีปัญหาภายหลังจากการรับพนักงานเข้ามาทำงานแล้วเกิดภัยอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากสุขภาพเบื้องต้น
ขั้นที่ 6 การประชุมปรึกษาพิจารณา(Conference)
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงาน ผู้คัดเลือกเละกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งพิจารณาตัดสินครั้งสุดท้าย คณะกรรมการชุดนี้จะร่วมกันอภิปรายความเหมาะสมในการตัดสินใจคัดเลือกให้บุคคลใดเข้าทำงานในองค์การ 
ขั้นที่ 7 ทดลองการปฏิบัติงาน(Realistic Job Preview)
ในขั้นนี้จะได้ประโยชน์แก่ผู้ถูกคัดเลือกโดยตรงเพราะจะได้สำรวจตนเองว่ามีความเหมาะสมในงานนั้นจริงหรือไม่ สามารถปรับตัวต่อสภาพการณ์ต่างได้หรือไม่
ขั้นที่ 8 การตัดสินใจจ้าง(Hiring Decision)
ดำเนินการบรรจุเป็นพนักงานขององค์การ ผู้ทำงานด้านนี้ต้องทำการติดตามผลงานของตนเองในทุกครั้งจากผู้

9 จงยกตัวอย่างการใช้งานอินทราเน็ตในองค์การ สำหรับงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ตอบ 1 การประชาสัมพันธ์ปฏิทินที่ระบุเหตุการณ์ต่างๆของบริษัท โดยเฉพาะแผนการประชุมครั้งใหญ่ โดยบุคลากรจะสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงทะเบียนการเข้าประชุม พร้อมทั้งส่งข้อมูลลงทะเบียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในระบบออน์ไลน์ได้
2 บุคลากรทำการประมวลผลตารางเวลาทำงาน ตลอดจนรายงานค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและเบี้ยหวัดของแต่ละบุคคล ผ่านระบบอินทราเน็ตได้ด้วยตนเอง
3 บุคลากร ใช้ระบบบริหารข้อมูลบุคลากรได้ด้วยตนเองผ่านระบบอินทราเน็ต

10 การเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนช่วยเพิ่มทุนทางปัญญาขององค์การในแง่ใด จงอธิบาย
ตอบ  คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในงานด้านการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้รายบุคคลซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่ออธิบายคำสอนผ่านเทคโนโลยีดิติทัล และการเรียนจะเป็นวิถีทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งมันจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนการฝึกอบรมในส่วนต้นทุนกระดาษและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

สรุปบทที่ 5

       ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้ในงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเชิงกลยุทธ์ เชิงกลวิธี และเชิงปฏิบัติการ โดยมีการปรับกระบวนการทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ ทั้งในงานด้านการบริหารและการควบคุมด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานตามหน้าที่งานรับผิดชอบของลูกจ้างแต่ละบุคคลภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะกล่าวถึง แนวคิดและความหมาย ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับผู้ใช้สารสนเทศ ซึ่งจำแนกประเภทของผู้ใช้สารสนเทศได้ 2 ประเภทคือ
      1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจ
      2 ผู้ใช้ภายนอกของธุรกิจ
       การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในกระบวนการจัดการ (Management Process ) ในส่วนของการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ซึ่งนับเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารที่จะต้องจัดสรรบุคคลที่มีคุณภาพเข้าทำงาน สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศทางธุรกิจ ซึ่งนับเป็นผลลัพท์ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจส่วนใหญ่มีการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรทั้งในรูปแบบของเอกสาร รายงานการปฏิบัติงานและรายงานเพื่อการบริหาร กระบวนการทางธุรกิจ ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผู้เขียนได้ประมวลจากความคิดของตนเอง รวมทั้งศึกษาจากตำราและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงทำการแยกประเภทย่อยได้ 8 ระบบ เทคโนโลยีทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะถูกใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งเน้นถึงการดูแลทรัพย์สินขององค์การ ในส่วนของลูกจ้างที่ถือเป็นกำลังสำคัญของการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ โดยองค์การควรยึดถือปฏบัติตามหลัก 4 ข้อ และภารกิจ 4 ประการ ของการบริหารทรัพยากรมนุาย์ อีกทั้ง มีการจำแนกสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็น 3 ประเภท คือ สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ สารสนเทศเชิงกลวิธีและสารสนเทศเชิงกลยุทธ์นั่นเอง
       ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะประกอบด้วย 8 ระบบ คือ ระบบวางแผนอัตรากำลังคน ระบบวิเคราะห์งาน ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบุคลากร ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบพัฒนาและฝึกอบรม ตลอดจนระบบสวัสดิการและผลประโยชน์ อีกทั้งองค์การมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับกระบวนการธุรกิจดังกล่าวนั่นก็คือ โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การใช้งานอินทราเน็ต รวมทั้งการจัดการทรัพยากรมนุษย์อิเล็กทรอนิกส์