วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 10


1 จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่างๆขององค์การ
ตอบ ระบบวิสาหกิจ คือ ระบบหรือกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับขอบเขตงานทั่วทั้งองค์การหรืองานในหน้าที่หลักขององค์การ ซึ่งจัดเป็นระบบสารสนเทศที่มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน และมักจะถูกจำกัดขอบเขตในแต่ละแผนก หรือในแต่ละพื้นที่งานอย่างชัดเจน
2 ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
ตอบคือ มีความเกี่ยวข้องกันในการนำไปสู่การวางแผนทรัพยากรองค์การ (อีอาร์พี) โดยมีฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นของเอ็มอาร์พี II ด้วยการเชื่อมต่อระบบประมวลผลธุรกรรม (ทีพีเอส) เข้ากับระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานแนวไขว้ (Cross Functional Information System) ทั่วทั้งองค์การ นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องมือของระบบสารสนเทศอื่นๆเช่น อัจฉริยะทางธุรกิจ และซอฟต์แวร์อื่นๆ เพื่อขยายขีดความสามารถของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจ รวมทั้งการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนหน้าที่งานด้านการตลาดเพื่อสังคม
3 ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
ตอบ แหล่งต้นทาง
4 การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
ตอบ 1 สายงานด้านวัสดุ
2 สายงานด้านสารสนเทศ
3 สายงานด้านการเงิน
5 บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทาน จงอธิบาย
ตอบ คือ ความไม่แน่นอน เช่น มีปัจจัยหลายประการซึ่งจะส่งผลตาอการพยากรณ์ความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้า ซึ่งธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ แต่สามารถวัดความไม่แน่นอนนี้ได้ในทันที่ โดยใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างแรงกระตุ้นด้านความต้องการผลิตภัณฑ์ช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากความไม่แน่นอนด้านระยะเวลาการขนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วนที่ใช้ภายในโซ่อุปทาน ที่สืบเนื่องจากปริมาณสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อมักจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงภายใต้โซ่อุปทาน จึงก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงความต้องการผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วจนกระทั้งเกิดโลจิสติกส์ส่วนกลับ หรือการส่งวัสดุหรือผลิตภัณฑ์คืนภายใต้โซ่อุปทาน หรือสาเหตุหนึ่ง ก็คือ ในช่วงระหว่างการขายปลีกเกิดปัญหาด้านสินค้าคงเหลือส่วนเกิน ซึ่งจำเป็นจะต้องถูกส่งคืนกลับไปยังผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต และผู้จัดหาวัตถุดิบ เป็นทอดๆไป
6 อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดการโซ่อุปทานอย่างไร
ตอบ  สนับสนุนในส่วนของผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิต โดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การ เขียนโดย Majorica_major 
7. จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมพันธ์ลูกค้า
ตอบ การใช้อีคอมเมิร์ชช่วยในธุรกิจ
8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของอี-ซีอาร์เอ็ม
ตอบเริ่มตั้งแต่การใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตหรือจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล เขียนโดย Majorica_major 
9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การอย่างไร
 ตอบ เพราะระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนทางด้านต่าง ๆ ดังนั้น ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ จึงต้องการการวางแผนที่เป็นระบบเช่นกัน
10. การแพร่กระจายความรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้าง
 ตอบใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์สารสนเทศทางธุรกิจกรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549. เขียนโดย Majorica_major 

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 9


1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีมาพอเข้าใจ
ตอบ แนว ทางการใช้สารสนเทศทางการบัญชี คือ ในปัจจุบันได้เกิดพัฒนาการด้านการทำบัญชีขององค์การธุรกิจทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีคือทิศทางหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี ที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการรวบรวม จัดรับเก็บ ประมวล และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชี ทั้งในส่วนของบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร เพื่อผลของการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีด้วยมือ ซึ่งมักประกอบด้วยขั้นตอนที่ค่อนข้างมีความซ้ำซ้อน จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการออกรายงานทางการเงินและรายงานทางการบริหาร ดังนั้น จึงถือว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชี คืออีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสำหรับการดำเนินงานภายในธุรกิจ อีกทั้งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ และรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต
2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์กรมาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ ตัวอย่างเช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ ประกอบด้วยลูกค้า ผู้ขายสินค้า ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นทุน ธนาคาร คู่แข่งขัน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร เป็นต้น

3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
ตอบ เลือก เพราะ การบัญชี ถือเป็นหน้าที่งานด้านการบริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ ที่สามารถช่วยตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีด้วยมือ
4. หาก ธุรกิจแห่งหนึ่งมีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูก ต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรขาดทุนที่แท้จริง
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. เป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ มี ความสัมพันธ์กัน คือ เป็นการทำบัญชีที่เหมือนกันแต่จะแตกต่างตรงที่ว่าการทำบัญชีด้วยระบบ คอมพิวเตอร์เป็นการนำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาใช้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการทำให้ยุ่งยาก ซึ่งต่างกับการบันทึกบัญชีด้วยมือ เขียนโดยapiozz
6. เพราะเหตุใดรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
ตอบ เนื่อง จากในการลงบันทึกการบัญชีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะในการจัดทำบัญชี ธุรกิจจะต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบใน การซื้อขาย แลกเปลี่ยนกันเพื่อที่จะได้นำตัวเลขที่ได้มาทำการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง เขียนโดยapiozz
7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
ตอบ ในอนาคตของระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะเน้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีร่วมกับโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้โซ่คุณค่าและโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถนำสารสนเทศทางการบัญชีไปใช้ร่วมกับระบบข้อมูลอื่น เช่น ระบบสารสนเทศทางการตลาด ระบบสารสนเทศทางการเงิน และระบบสารสนเทศขององค์การคู่ค้า เป็นต้น

8. หาก ธุรกิจมีการเสนองบการเงิน ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วยจะถือเป็น รายงานทางเงินหรือรายงานทางการบริหาร
ตอบ รายงานทางการบริหาร

9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจจะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
ตอบ1. ระบบสารสนเทศทางการผลิต
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาด
3. ระบบสารสนเทศทางการเงิน
4. ระบบสารสนเทศทางการเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. ผู้จัดการงานบัญชี
6. ผู้ใช้รายงาน

10. เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
ตอบ ทราบถึงข้อมูลภายในองค์การเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปลงข้อมูลทางการบัญชีได้อย่างถูกต้อง เขียนโดยapiozz





1


สรุปบทที่ 10

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นจะต้องใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านการแพร่กระจายสารสนเทศไปทั่วโลก ดังนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการด้านระบบสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ ร่วมกับการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนการใช้งานต่ำ แต่มีสมรรถภาพการใช้งานสูง จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสนองตอบต่อการใช้สารสนเทศเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจ ทั้งในส่วนการจัดการโซ่อุปทาน การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และหน้าที่งานอื่น ซึ่งถือเป็นงานหลักขององค์การที่จะนำมาซึ่งความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนผลกำไรของธุรกิจในระยะยาว
ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ระบบสารสนเทศหลากหลายระบบ โดยการปฏิบัติงานอยู่ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจเฉพาะเรื่อง และยังมีการบูรณาการระบบสารสนเทศต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อการเชื่อมโยงและการแพร่กระจายสารสนเทศทั่วทั้งองค์การ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงสารสนเทศกับองค์การภายนอก ซึ่งก็คือ ลูกค้า ผู้จัดหา และหุ้นส่วนธุรกิจ ภายใต้รูปแบบของระบบวิสาหกิจ
ระบบวิสาหกิจ เป็นระบบที่รวบรวมระบบประยุกต์ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ และระบบอื่นๆ ไว้ภายใต้ระบบเดียว โดยมีระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การเป็นระบบที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจหลักและระบบสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทำงานของระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทานและระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ อีกทั้งยังใช้สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจโดยการค้นหาความรู้ จากฐานความรู้ขององค์การหรือศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจ โดยมีการทำงานร่วมกับระบบการจัดการความรู้ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจในส่วนอัจฉริยะทางธุรกิจ

สรุปบทที่ 9

           การบัญชี ถือเป็นหน้าที่งานด้านการบริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบัน ได้เกิดพัฒนาการด้านการทำบัญชีขององค์การธุรกิจทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีคือทิศทางหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี ที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชี ทั้งในส่วนของบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร เพื่อผลของการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำบัญชีด้วยมือ ซึ่งมักประกอบด้วยขั้นตอนที่ค่อนข้างมีความซ้ำซ้อน จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการออกรายงานทางการเงิน และรายงานทางการบริหาร ดังนั้น จึงถือว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีคืออีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสำหรับการดำเนินงานภายในธุรกิจ อีกทั้ง ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ และรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต
          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่นำเสนอสารสนเทศ ทั้งในรูปแบบบัญชีการเงิน และบัญชีผู้บริหาร ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้รายงาน ทั้งในรูปแบบของเอกสารทางการบัญชี รายงานทางการเงิน และรายงานทางการบริหาร ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลของระบบประมวลผลธุรกรรม ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน รวมทั้งระบบรายงานทางการบริหาร โดยรายงานทางการเงินจะถูกจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และรายงานทางการบริหาร จะถูกจัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้รายงาน
         กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการบัญชี โดยปกติจะดำเนินตามวัฏจักรรายการค้า โดยสามารถจำแนกกระบวนการทางธุรกิจได้ 4 ส่วนคือ การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจ การบัญชีแยกประเภททั่วไป การออกรายงานทางการเงิน และการออกรายงานทางการบริหาร โดยมีการรับธุรกรรมจากระบบสารสนเทศอื่นๆมาเก็บไว้ในแฟ้มสมุดรายวันทั่วไป ตลอดจนทำรายการปรับปรุงบัญชีเท่าที่จำเป็น จากนั้นจึงจำแนกประเภทบัญชี และผ่านรายการไปยังแฟ้มบัญชีแยกประเภท รวมทั้งปรับยอดคงเหลือของแต่ละบัญชีในแฟ้มงบทดลอง ก่อนที่จะประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินและรายงานทางการบริหาร สำหรับเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึดหัดบทที่ 8


1 จงอธิบายเป้าหมายทางการเงินทั้งในส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
ตอบ 1 กำไรสูงสุด เป้าหมายนี้ มักจะเน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอน และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นด้วย แต่กำไรสูงสุดก็ยังคงละเลยต่อปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ความเสี่ยงของการลงทุน ระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนการลงทุน และต้นทุน
2 ความมั่งคั่งสูงสุด หากธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย จึงจะถือว่าธุรกิจนั้นเกิดความมั่งคั่งสูงสุด (Wealth Maximization) ซึ่งจะต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเงินที่ถูกต้อง ตลอดจนมีการสร้างพื้นฐานการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เป้าหมายทางการเงินทั้ง 2 ประการข้างต้นแล้ว องค์การควรจะตั้งเป้าหมายเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เช่น ไม่ควรทำการปั่นหุ้นเพื่อสร้างราคาหุ้นของบริษัทให้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการหลอกลวงนักลงทุนซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น
2 จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานทางการเงิน
ตอบ ธุรกิจส่วนใหญ่ จะมีการใช้สารสนเทศทางการเงินทั้งในแบบของเอกสาร รายงาน เพื่อการปฏิบัติงาน และรายงานเพื่อการจัดการ โดยกำหนดรูปแบบรายงานตามความต้องการของผู้ใช้รายงาน เช่น ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสม โดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ ในการวางแผนทางการเงินจะต้องครอบคลุมทั้งองค์การ อีกทั้งยังต้องมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว นักวิเคราะห์ทางการเงินส่วนใหญ่จะใช้เว็บและแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยสร้างแผนทางการเงิน ตลอดจนกิจกรรมด้านงบประมาณต่างๆ
3 เพราะเหตุใดธุรกิจที่มีการจัดการทางการเงินไม่ดีพอ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต
ตอบ เพราะระบบสารสนเทศทางการเงิน ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่างๆ ทางการเงิน เช่น การพยากรณ์และวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดการเงินลงทุนในส่วนการใช้และการบริหารเงินทุน รวมทั้งการจัดการเงินลงทุน โดยจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินเป็นพื้นฐานข้อมูลของระบบ โดยมีเป้าหมายด้านการสร้างกำไรสูงสุดให้ธุรกิจ และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสารสนเทศทางการเงินที่ธุรกิจได้รับทั้งในเชิงปฏิบัติการและในเชิงบริหาร ตลอดจนสารสนเทศที่ได้จากภายนอกองค์การทั้งจากตลาดการเงินและจากภาครัฐบาล
4 ธุรกิจมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ  คือ การใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมและการตรวจสอบทางการเงิน โดยอาศัยการพยากรณ์และการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กิจกรรมด้านต่างๆของธุรกิจ เช่น การตลาด การผลิต และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดการเงินสดและเงินลงทุนของกิจการก่อให้เกิดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ
5 กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
ตอบ ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงิน ได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อสนองตอบหน้าที่ทางการเงินทั้ง 4 ระบบ คือ การพยากรณ์และวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดการลงทุน และการจัดการเงินทุน โดยจำแนกระบบย่อยออกเป็น 5 ระบบ คือ ระบบวางแผนทางการเงิน ระบบจัดการทางการเงิน ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน และระบบควบคุมทางการเงิน อีกทั้ง ในระบบย่อยแต่ละระบบจะต้องมีการประมวลผลและออกรายงานสารสนเทศทางการเงินต่างๆ เพื่อการนำเสนอต่อผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกระดับชั้นใช้สำหรับการตัดสินใจ
6 จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
ตอบ คือ เพื่อการนำเทคโนโลยีการทำเหมืองข้อมูลและโครงข่ายประสาท มาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน โดยนำสารสนเทศทางการเงินในอดีตมาใช้เพื่อการพยากรณ์ทางการเงินในอนาคต
7 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบควบคุมทางการเงินอย่างไร
ตอบ ระบบวิเคราะห์ทางการเงินมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆ ส่วนระบบควบคุมทางการเงิน คือ การพยากรณ์หรือ การควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานซึ่งรวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบระบบสารสนเทศด้วยเขียนโดย chanida  
8 การพยากรณ์ทางการเงิน มีความสัมพันธ์กับงบประมาณเงินสด และงบประมาณการลงทุนอย่างไร
ตอบ มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบพยากรณ์ทางการเงินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน ส่วนงบประมาณเงินสดเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินในลำดับต่อมา  และระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจ การลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การเขียนโดย chanida  

9 จงยกตัวอย่างการใช้สารสนเทศจากตลาดการเงิน สำหรับการจัดหาเงินทุน
ตอบ การจัดหาเงินทุนตัวอย่าง เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนประกอบธุรกิจ
10.      จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
ตอบ  หน่วยงานราชการ ธนาคาร การไฟฟ้า ประปา เซเว่น  ร้านขายรถต่างๆ เป็นต้น

สรุปบทที่ 8

ภาระหน้าที่สำคัญทางการเงิน คือ การจัดการกระแสเงินสดเข้าและออกจากธุรกิจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทุกๆกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน้าที่ เช่น การจ่ายเงินเดือนของแผนกทรัพยากรมนุษย์ การจ่ายค่าซื้อวัตถุดิบของแผนกจัดซื้อ และการรับชำระค่าขายสินค้าของแผนกขาย เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดเข้าและออกของแต่ละวันทำการ ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดการและการควบคุมทางการเงินที่ดี
ระบบสารสนเทศทางการเงิน เป็นเครื่่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมและการตรวจสอบทางการเงิน โดยอาศัยการพยากรณ์และการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กิจกรรมด้านต่างๆ ของธุรกิจ เช่น การตลาด การผลิต และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดการราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีการจัดการเงินสดและเงินทุนของกิจการก่อให้เกิดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ
ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงินประกอบด้วย 5 ระบบหลัก คือ ระบบวางแผนทางการเงิน ระบบจัดการทางการเงิน ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน และระบบควบคุมทางการเงิน ซึ่งการประมวลผลของระบบต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการเงิน เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน และยังมีการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเข้าร่วมด้วย เพื่อช่วยสนับสนุนงานในส่วนการนำเสนอสารสนเทศทางการเงินที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 7


1 จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ

ตอบ กิจกรรม Logistics จะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องมีการจัดการกิจกรรม RIMS ภายใต้ Plat Form ของ Information Technology โดยกิจกรรมของ RIMS ต่างดำเนินกิจกรรมตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของตน ( Service on Individual Specialize) กระบวนการต่างๆ ข้างต้น ที่ประกอบเป็นโครงข่าย Logistics & Supply Chain นั้น มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ความพยายามที่จะลดต้นทุนหรือบทบาทของระบบงานใดงานหนึ่งหรือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอย่างไม่เป็นบูรณาการ (Integration) มักจะทำให้กระทบในส่วนอื่น เช่น การลดต้นทุนการจัดซื้อด้วยการจัดซื้อทีละมากๆ จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บวัสดุคงคลังสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจัดการ Logistics & Supply Chain จำเป็นต้องพิจารณาของภาพรวมทั้งระบบ ที่เรียกว่า Integrated Logistics Management
กิจกรรมที่สำคัญของการจัดการ Logistics หรือที่เรียกว่า “RIMS”
1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics ซึ่งอาจได้แก่
ก. การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management : (CRM) Logistics จะต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าโดยตรง (Direct Customers) และลูกค้าทางอ้อม (Indirect Customers) คือลูกค้าของลูกค้า
ข. การจัดการในเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Suppliers Value) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ Logistics เช่น การจัดหาสินค้า , การเก็บสินค้า (Storage) ฯลฯ

ค. การจัดการเกี่ยวกับการผลิต (Manufacturing Management)
ง. การจัดการเกี่ยวกับการกระจายสินค้า (Distribution Management) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ Packaging คือ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Desire

จ. ผู้ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการขนส่ง และจะรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ Cargoes Clearing ซึ่งรวมถึงพิธีการศุลกากร , กิจกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
ฉ. ผู้ให้บริการเครือข่าย Information Technology Network เช่น ผู้ให้บริการ Web Site เพื่อธุรกิจ
ช. ผู้ให้บริการในการจัดซื้อ-จัดหา และหรือ ผู้ให้บริการ Vender Management ในรูปแบบต่างๆ

2 การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด
           ตอบ 1. การโฆษณา (advertising)
2. การส่งเสริมการขาย (sales promotion)
3. การขายโดยพนักงานขาย (personal selling)
4. การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ (publicity and public relations)
5. การตลาดทางตรง (direct marketing)


3 ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไร จึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้
           ตอบ ลักษณะของกิจกรรมทางการตลาดเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาวได้นั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้คือ
1 จะต้องเป็นลักษณะการสื่อสารแบบตัวต่อตัวอย่างเป็นกันเอง
2 จะต้องส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าในระยะยาว มากกว่าที่จะเป็นการหวังผลยอดขายในระยะสั้น
3 จะต้องเป็นการสื่อสารแบบสองทางและสร้างโอกาสให้ลูกค้าตอบกลับมายังบริษัท
4 กิจกรรมทางการตลาดที่ใช้จะต้องสร้างประโยชน์ให้ทั้งฝ่ายบริษัทและกับลูกค้า

4 จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่าและการสื่อสารคุณค่า
            ตอบ การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจเนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1.การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
2.การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกตการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
3.คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า "รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง" แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงาน ของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น
4.กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
5.ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือ เปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน

ที่มา นุชนาฏ .(2552).http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=472.0

5 กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
        ตอบ ระบบสารสนเทศทางการขาย คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทราบยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่น เช่น ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่น ๆ ทางการผลิต ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในส่วนประวัติการซื้อและรับชำระเงินของลูกค้า ระบบโลจิสติกส์ ในส่วนการรับสินค้าขาเข้า และการส่งสินค้าขาออก เป็นต้น ซึ่งต้องมีการประมวลผลใบสั่งขาย และการออกรายงานการขายเพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป

6 จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
         ตอบ 1เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพ การขายเพิ่มขึ้น
2 เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้สามารถครองใจลูกค้ามากขึ้น
3 เพื่อสามารถนำไปขยายตลาดสำหรับลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
4 เพื่อมีส่วนในการบริหารจัดการการทำงานของพนักงานขาย การแบ่งเกรดลูกค้า อะไรบ้างที่ลูกค้าชอบ/ไม่ชอบ หรือ แม้แต่การวิเคราะห์สื่อโฆษณา ที่ใช้ว่าได้ผลหรือไม่ , มีคู่แข่งเป็นใครบ้าง , พนักงานขายเข้าไปพูดคุยอะไรกับลูกค้าบ้าง , ลูกค้าโทรเข้ามาสอบถามเรื่องสินค้าหรือบริการตัวไหนเป็นพิเศษ , ฯลฯ
5 เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์แบบโชว์เบอร์เพื่อเก็บหมายเลขโทรศัพท์ และ สามารถเชื่อมโยงการสืบค้นข้อมูลประวัติลูกค้ากรณีที่มีการโทรศัพท์เข้า

7 ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพราะเหตุใด
              ตอบ1. ระบบการขายอัตโนมัติ ประกอบด้วย
-
ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
-
ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
-
ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2.
ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3.
ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ
4. Data Warehouse
และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ

1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

8 ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ จะช่วยสนับสนุนงานด้านการวิจัยการตลาด โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อการกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาด และอื่นๆ

9 จงยกตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านคาปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
            ตอบ ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลือกซื้อสินค้า การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเวลาการรอคอย ในบางครั้งยังอาจลดจำนวนพนักงานขาย หรือไม่ต้องใช้พนักงานขายเลยก็อาจเป็นได้Turbanetal.ได้ยกตัวอย่างนวัตกรรมร้านค้าปลีกดังนี้
2.1 มีการจัดหาเครื่องกราดตรวจรหัสแท่งแบบมือถือไร้สายไว้ในร้าน เพื่อให้ลูกค้าใช้เลือกสินค้าที่ต้องการพร้อมทั้งแสดงรายละเอียดสินค้า รวมทั้งเงื่อนไขการให้บริการด้านการบำรุงรักษาสินค้าลูกค้าสามารถดำเนินการซื้อสินค้าทันทีที่ต้องการโดยใช้สมาร์ตการ์ด หรือบัตรเครดิตและทำการส่งรายการซื้อไปยังที่แคชเชียร์เพื่อดำเนินการรับชำระเงิน เมื่อลูกค้าเดินมาถึงจุดรับชำระเงินกู้สามารถรับใบเสร็จรับเงินและสินค้าที่ถูกบรรจุใส่ถุงเรียบร้อย
2.2 ร้านค้าแบบคิออส (kiosk) มีการจัดหาคอมพิวเตอร์แบบมือถือสำหรับลูกค้าค้นหาข้อมูลสินค้าภายในร้าน หรือแม้แต่การเปรียบเทียบราคาสินค้ากับคู่แข่งขัน บางร้านอาจจัดหาอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ด้วย
2.3 มีการติดตั้งระบบวีดีทัศน์ภายในร้านค้า สำหรับนับจำนวนลูกค้าและติดตามรอยลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อสินค้าภายในร้านค้าโดยมุ่งเน้นถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามากกว่าการรักษาความปลอดภัยในร้านค้าข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการออกแบบร้านค้าและการส่งเสริมการขายภายในร้าน รวมทั้งการตัดสินใจด้านการจัดหาพนักงานบริการลูกค้าภายในร้านในเวลาที่มีลูกค้าปริมาณมากด้วย
2.4 บางร้านค้าที่มีระบบการรับชำระเงินโดยใช้เช็คก็อาจติดตั้งระบบบันทึกการรับเช็ค เมื่อลูกค้าเลือกซื้อสินค้าแล้วก็ยื่นแบบฟอร์มเปล่าขอเช็คให้พนักงานรับเงินเพื่อจับคู่กับข้อมูลการซื้อของลูกค้าในเครื่องบันทึกรับเงินสดอัตโนมัติ ระบบจะพิมพ์ชื่อผู้ถูกสั่งจ่าย พร้อมทั้งจำนวนเงินจ่ายค่าสินค้าลงบนเช็คและส่งให้ลูกค้าลงนามในตั๋วเงินจ่าย จากนั้นระบบจะตรวจสอบความถูกต้องของการรับเงินและหักบัญชีธนาคารของลูกค้าทันทีก่อนที่ลูกค้าจะออกจากร้านพร้อมสินค้าในมือ
2.5 มีร้านค้าปลีกจำนวนหนึ่ง ได้ติดตั้งเครื่องรับชำระค่าสินค้าอัตโนมัติภายในร้านค้า ให้ลูกค้าทำการชำระค่าซื้อสินค้าด้วยตนเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดภาระการจ่ายเงินเดือนพนักงานอีกทั้งยังทำให้ลูกค้ามีความสุขมากขึ้น เช่น มีการใช้เครื่องกราดตรวจแบบยู (U-Scan) ภายในร้านคิออส และซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง


10 ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนตัดสินใจอย่างไร
                ตอบ ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการพยากรณ์ยอดขาย จะเริ่มตั้งแต่มีการรับเข้าข้อมูลยอดขายในอดีตจากแฟ้มขาย ข้อมูลอุปสงค์ของตลาดจากแฟ้มข่าวกรอง ข้อมูลค่าใช้จ่ายทางการตลาดจากแฟ้มงบประมาณและข้อมูลส่วนแบ่งตลาดจากแฟ้มวิจัยตลาด โดยใช้โปรแกรมพยากรณ์ยอดขายประมวลผล เพื่อออกรายงานต่างๆ เช่น รายงานพยากรณ์ยอดขาย โควตาขายและงบประมาณการขาย เพื่อนำส่งผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจทางการตลาดต่อไป

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 7

         การดำเนินกิจกรรมด้านการขายและการตลาดจะถือเป็นภาระงานที่สำคัญภายใต้โซ่คุณค่าขององค์กร ที่สืบเนื่องจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มักเน้นที่ความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินด้านการตลาด รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคคลากรของทุกหน่วยงาน ในการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบต่อลูกค้าทุกราย อันจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
          ระบบสารสนเทศทางการตลาด เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้สำหรับงานด้านการตลาดในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโปรแกรมทางหการตลาดที่ดี จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้ขาย ตลอดจนผู้ที่มีบทบาทอื่นทางการตลาดด้วยเนื่องจากในปัจจุบัน ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ผู้ซื้อมีทางเลือกเพิ่มขึ้น วิธีการทางการตลาดมีความซับซ้อนขึ้น อีกทั้งธุรกิจยังจำเป็นต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุนี้ การใช้สารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์จึงยิ่งจะทวีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบทนี้จะประกอบด้วย แนวคิดและความหมาย หลักการตลาด สารสนเทศทางการตลาด กระบวนการทางธุรกิจ และเทคโนโลยีทางการตลาด
          ระบบสารสนเทศทางการตลาด มักถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ทางการตลาด การขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตั้งราคาผลิตภัณฑ์และการสื่อสารการตลาด โดยมุ่งเน้นถึงกระบวนการส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วยการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่า และการสื่อสารคุณค่าให้ลูกค้าทราบ โดยธุรกิจจะต้องดำรงบทบาททางการตลาดที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ โดยอาศัยสารสนเทศทางการตลาดที่ธุรกิจมักได้รับ ทั้งในเชิงปฏิบัติการและในเชิงบริหาร
ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการตลาด จะประกอบด้วย 4 ระบบหลักและ 6 ระบบย่อย คือ ระบบระเบียบข้อมูลในกิจการ ทั้งในส่วนระบบสารสนเทศทางการขาย และระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ระบบอัจฉริยะทางการตลาด ระบบวิจัยการตลาด ระบบสนันสนุนการตัดสินใจทางการตลาด ทั้งในส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ และด้านการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับกระบวนการธุรกิจดังกล่าว คือ การใช้งานอินทราเน็ต การใช้งานอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด

แบบฝึกหัดบทที่ 6


1. จงอธิบายเป้าหมายทางการผลิตทั้งในส่วนของธุรกิจและองค์การคู่ค้า
ตอบ เป้าหมายของผู้ผลิต คือ การผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตสินค้าและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
เป้าหมายองค์การคู่ค้า คือ การซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในอัตราที่มีปริมาณมากและราคาถูกเพื่อที่จะนำมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
2. จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานด้านการผลิต
ตอบ การใช้ระบบบนเว็บที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์จักรยาน เป็นต้น
3. การดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าและธุรกิจบริการมีการจัดการผลิตต่างกันอย่างไร
ตอบ ธุรกิจผลิตสินค้า คือ ธุรกิจที่มีการนำวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านการแปรสภาพนำมาผลิตเป็นสินค้า
ธุรกิจบริการ คือ การนำสินค้าที่ได้จากฝ่ายผลิตสินค้านำมาบริหารจัดการทางด้านการตลาดเพื่อให้มีผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
4. ธุรกิจมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนการผลิตอย่างไร
ตอบ 1. การวางแผนการปฏิบัติการในด้านการผลิต การควบคุมคุณภาพ การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการผลิต
2. ด้านการจัดการโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้าไปยังผู้ขายสินค้าดังรายละเอียดต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 คือ การดำเนินการผลิต
ขั้นตอนที่ 2 การควบคุมคุณภาพในการผลิต
ขั้นตอนที่ 3 การควบคุมคุณภาพหลังจากเสร็จสิ้นในขั้นตอนที่ 2 ก็จะเป็นเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทั้งสามระบบมีความเกี่ยวข้องกันในกระบวนการผลิตสินค้า

5. ระบบสารสนเทศทางการผลิตมีการเชื่อมโยงข้อมูลกันในแต่ละระบบย่อยอย่างไร
ตอบ  มีกระบวนการผลิตที่เป็นระบบซึ่งในแต่ละระบบจะทำหน้าที่ของใครของมันโดยการไล่ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่อยู่ล่างสุดไล่มาจนถึงบนสุด
6. เพราะเหตุใดจะต้องมีการออกแบบกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับคำสั่งซื้อของลูกค้า
ตอบ เนื่องจากเป็นการผลิตแบบเป็นล็อตหรือผลิตในปริมาณน้อยซึ่งให้ตรงกับออเดอร์ ที่ลูกค้าสั่ง อีกทั้งการผลิตแบบนี้สามารถทำการได้เปรียบทางการแข่งขันจากคู่แข่งขันได้
7. การจัดการโลจิสติกส์ทางการผลิตมุ่งเน้นถึงการจัดการงานส่วนใดบ้าง
ตอบ การคอมพิวเตอร์ข่ายผลิต การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์และการผลิตแบบยืดหยุ่น
8. ปัจจุบันการจัดการซุอุปทานถูกนำมาทดแทนการจัดการโลจิสติกส์ได้หรือไม่
ตอบได้ เนื่องจากการจัดการโลจิสติกส์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้ คือ สามารถเลือกใช้ระบบใดระบบหนึ่งได้หรือจะนำทั้งสองระบบมาประยุกต์ใช้รวมกันก็ ได้
9. จงยกตัวอย่างการใช้สารสนเทศจากภายนอกองค์การ
ตอบ 1.สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ
2. สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ
10. จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีทางการผลิตที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
ตอบ  บริษัท CP RAM (ในเครือเจริญโภคภัณฑ์)

สรุปบทที่ 6

         ระบบสารสนเทศทางการผลิต การผลิตและการดำเนินงานคือ หน้าที่งานหนึ่งทางธุรกิจซึ่งรับผิดชอบสำหรับกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิต เพื่อเข้าสู่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ นั่นคือ สินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งถ้าหากมีการเปรียบเทียบกับหน้าที่งานด้านอื่นของธุรกิจแล้ว พื้นที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงานจะถูกแบ่งแยกเป็นพื้นที่ย่อมที่มีความหลากหลาย อันสืบเนื่องจากการที่ธุรกิจมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบนั่นเอง ดังนั้น องค์การธุรกิตจึงจำเป็นต้องมีการจัดการการผลิตและดำเนินงาน (production and operation management : POM) ที่มีประสิทธภาพ ตลอดจนมีการใช้สารสนเทศทางการผลิตเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนด้วย
         ระบบสารสนเทศทางการผลิต นับเป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศทางการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมการผลิตและดำเนินงาน ตลอดจนมีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่่งเป็นผลลัพท์จากกระบวนการผลิต ซึ่งความต้องการสารสนเทศนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรเช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม จะมีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากธุรกิจบริการ หรือธุรกิจบริการในโรงพยาบาล จะมีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากธุรกิจบริการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
         ในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อย่อย คือ  แนวคิดและความหมาย การจัดการการผลิตและการดำเนินงานสารสนเทศทางการผลิต กระบวนการทางธุรกิจ และเทคโนโลยีทางการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการผลิตถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่างๆ ทางการผลิต เช่น การออกแบบระบบงาน การดำเนินการผลิต และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น และจะต้องมีการประมวลผลทางธุรกรรมทางการผลิตเป็นพื้นฐานข้อมูลของระบบ โดยมุ่งเป้าหมายด้านการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในระยะยาว ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสารสนเทศทางการผลิตที่ธุรกิจได้รับทั้งในเชิงปฏิบัติการและในเชิงบริหาร ตลอดจนสารสนเทศที่ได้จากภายนอกองค์กรทั้งจากองค์การคู่ค่า เช่น ผู้ขายวัสดุ และผู้ขนส่งวัสดุ ตลอดจนองค์การคู่แข่งขันของธุรกิจ ในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการผลิต จะประกอบด้วย 5 ระบบหลักคือ ระบบออกแบบการผลิต ระบบวางแผนการผลิต ระบบจัดการโลจิสติกส์ ระบบดำเนินการผลิต และระบบควบคุมการผลิต ซึ่งการประมวลของระบบต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการผลิตอาทิ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต การใช้หุ่นยนต์ การใช่รหัสแท่ง การใช้งานอินเทอร์เน็ต การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบบูรณาการทางการผลิต และระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการนำเสนอสารสนเทศทางการผลิตที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 5


1 จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ 1ตัวอย่างเช่น ถ้าหากองค์กรของคุณมีการวางแผนที่จะว่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 50 % หรืออาจจะมากกว่านั้นในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป การนำ HRIS มาใช้ก็จะสามารถช่วยให้คุณวางแผนและนำไปใช้ได้ทั่วทั้งองค์กรของคุณ โดยจุดสำคัญที่ต้องตระหนักถึงก็คือ การวางระบบสารสนเทศในงานทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ กระบวนการ มากกว่าจะเป็นการเป็นแค่เพียงสินค้าชิ้นหนึ่งเท่านั้น  การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของพนักงานของคุณเอง จะเป็นโอกาสอันดีที่ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดและพิจารณามองถึงนโยบาย รวมถึงกระบวนการต่างๆ ของงานทรัพยากรมนุษย์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากองค์กรของคุณไม่เคยได้มีการลงมือทำมันมาก่อนเลย ขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้น่าจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าข้อมูลต่างๆของพนักงานในองค์กรของคุณนั้นจะถูกจัดการได้เป็นอย่างดี
2บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เดิมมีหน่วยงาน การบุคคลกลาง ทำหน้าที่ดูแลงาน Hr ของเครือฯ ต่อมามีการปรับโครงสร้าง และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานใหม่ เป็น Hr Corporate Center ทำหน้าที่บทบาทในการวางกลยุทธ์ คัดเลือกซอฟท์แวร์ สารสนเทศ และหาเครื่องมือการบริหารสมัยใหม่ อาทิ Hr Best Practice, Knowledge Management หรือ E-Hr มา ใช้กับเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมใหม่เป็นอย่างมาก บริษัทซีเกทเทคโนโลยี ได้ออกแบบโครงสร้างองค์กร ของหน่วยงาน Hr ได้น่าสนใจทีเดียว อาทิ หน่วยงาน Hr Strategic Planning and Project Management หน่วยงาน Hr Products Center นำระบบ Six Siqma มาใช้กับงาน Hr หรือมีตำแหน่งงาน HRIT Director ซึ่งเป็นบุคลากรที่จบทางสายงานคอมพิวเตอร์มาดูแลงาน HRIT โดยตรงซึ่งถือ ว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับ วงการ Hr ในบ้านเรา และบริษัทซีเกท เทคโนโลยี ถือว่าเป็นบริษัทแรกๆ ของโลกที่ออกแบบและพัฒนาระบบงาน HRIS เป็นของตนเอง ภายใต้ชื่อ Hr Central และนำระบบดังกล่าวใช้ติดต่อดูฐานข้อมูลพนักงานออนไลน์ถึงกันได้ทั่วโลก

2 จงเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารงานบุคคล และการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ตอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในกระบวนการจัดการ (Management process) ในส่วนของการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ซึ่งนับเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารที่จะต้องจัดสรรบุคคลที่มีคุณภาพเข้าทำงาน รวมถึงการพัฒนาและธำรงรักษาไว้ซึ่งลูกจ้างที่มีความสามารถ ซึ่งนับถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและยาวนานส่วน การบริหารงานบุคคล ก็คือการดำเนินงานและพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ โดยมีจุดเน้นที่การพัฒนาบุคคลและการจัดการด้านศักยภาพของบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การตามเป้าหมาย

3 จากหลัก 4 ข้อ และภารกิจ 4 ประการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านคิดว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร
ตอบ สอดคล้อง เนื่องจากหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์และภารกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ข้างต้น สามารถใช้เป็นแนวทางได้การระบุขอบเขตงานของระบบสารสนเทศบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสอดคล้องกันได้ เพื่อการนำเสนอสารสนเทศที่สนองความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหารที่รับผิดชอบในงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเต็มที

4 หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีประสิทธิภาพท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1 ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2 ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีประสิทธิภาพ
3 บุคลากรจะได้รับการพัฒนาตนเอง ทั้งในส่วนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน ตลอดจนมีความก้าวหน้าในงานอาชีพ
4 บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับ จึงมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
5 บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6 องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงาน และดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
7 องค์กรมีโอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือและร่วมใจในการทำงาน
8 สังคมอยู่ได้อย่างสันติสุข เนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากการทำงาน
9 ประเทศชาติมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะองค์การเติบโตอย่างมั่นคง

5 จงยกตัวอย่างสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่นำเสนอต่อผู้บริหารระดับกลางในองค์การ
ตอบ จากตัวอย่าง KM กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งการเสวนากับผู้บริหารสถาบัน และคณบดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ รับทราบนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน หลักและวิธีการบริหารจัดการของผู้บริหาร ความคาดหวังที่ผู้บริหารมีต่อผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารระดับกลางในทัศนะของผู้บริหารข้างต้นโดยสรุปจะต้องใช้ความรู้และทักษะหลายด้านด้วยกัน ดังนี้ หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ด้านความรู้ ความรู้ที่ผู้บริหารระดับกลางพึงมีที่สำคัญ คือ 2.1  ต้องรู้ระเบียบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง  2.2  ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นในระดับผู้บริหาร   2.3  ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

6 สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงาน มักมีผลประโยชน์ต่อองค์การและบุคลากรอย่างไร
ตอบ สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงาน ถือเป็นภาระงานหนึ่งของผู้บริหารระดับสูง ที่จะต้องเจรจาต่อรองแรงงานกับสหภาพแรงงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรกับผู้บริหารระดับสูง และระหว่างบุคลากรกับบุคลากรด้วยกันเอง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารเกี่ยวกับสารสนเทศนี้กับบุคลากรและหน่วยงานภายนอกเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

7 ท่านคิดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีใดอย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เพราะเหตุใด
ตอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเป็นวิถีทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นภาวะหน้าที่หนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งช่วยให้ประหยัดเวลา ลดต้นทุนการฝึกอบรมในส่วนต้นทุนกระดาษและค่าใช้จ่ายในการเสนอขาย

8 จงอธิบายกระบวนการธุรกิจของระบบการสรรหาและคัดเลือก
ตอบ การสรรหา(Recruitment)
การสรรหา(Recruitment) คือ กระบวนการในการแสวงหาและจูงใจผู้สมัครงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ เริ่มต้นตั้งแต่การแสวงหาคนเข้าทำงานและสิ้นสุดเมื่อบุคคลได้มาสมัครงานในองค์การ
กระบวนการที่ควรนำมาพิจารณาในการสรรหา คือ
1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Planning) 
2. ความต้องการหรือการร้องขอของผู้จัดการ(Specific requests of managers) 
3. การระบุตำแหน่งงานที่จะรับบุคลากรใหม่(Job opening identified) 
4. รวบรวมสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job analysis information) 
5. ข้อคิดเห็นของผู้จัดการ(Manager's comments) ข้อคิดเห็นของผู้จัดการจะเป็นตัวตรวจสอบให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำด้วยความรอบคอบและลึกซึ้งมากขี้น
6. กำหนดคุณสมบัติบุคลากรตรงกับงาน(Job requirement) 
7. กำหนดวิธีการสรรหา(Methods of recruitment) ผู้สรรหาจะศึกษาแนวทางและแหล่งที่จะดำเนินการสรรหาพนักงาน 
8. ความพึงพอใจที่ได้ผู้สมัคร(Satisfactory pool of recruits)
กระบวนการสรรหา (werther and davis. 1986)
การคัดเลือก(Selection)
การคัดเลือก คือ กระบวนการที่องค์การใช้เครื่องมือต่างๆ มาดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจำนวนมากให้เหลือตามจำนวนที่องค์การต้องการ ฉะนั้นการคัดเลือกจำเป็นที่จะต้องมีเกณฑ์กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาให้ได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับงานที่เปิดรับ
การคัดเลือกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีตัวป้อนเข้า (input ) ที่ดีด้วย ตัวป้อนเข้าที่จะไปสู่การคัดเลือกนั้น มี 3 ประเภท ด้วยกัน คือ
1. การวิเคราะห์งาน ( Job analysis)
2. แผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource plans)
3. การสรรหา (Recruitment)
กระบวนการคัดเลือกมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 
ขั้นที่ 1. การต้อนรับผู้สมัคร(Preliminary reception of application)

การคัดเลือกเป็นโอกาสแรกที่ผู้สมัครจะเริ่มรับรู้เกี่ยวกับลักษณะขององค์การ ขณะเดียวกันฝ่ายบุคคลเองก็มีโอกาสสังเกตกิริยาท่าทาง เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองของผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นข้อมูลอย่างดีในการพิจารณาต่อไป
ขั้นที่ 2 การทดสอบ(Employment tests)
แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ที่นำไปเร้าให้บุคคลแสดงความสามารถและพฤติกรรมออกมา 
ขั้นที่ 3 การสัมภาษณ์(Selection interview) แบ่งเป็น 5 ประเภท
1. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured interview) การสัมภาษณ์แบบนี้ให้อิสระแก่ผู้สัมภาษณ์ 
2. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง(Structured or directive interview) คำถามแต่ละคำถามจะถูกเตรียมก่อนที่จะเริ่มสัมภาษณ์
3. การสัมภาษณ์แบบผสม(Mixed interview) การสัมภาษณ์ที่ผสมผสานระหว่างการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
4. การสัมภาษณ์แบบแก้ปัญหา(Problem-solving interviews) เป็นการสัมภาษณ์ที่เน้นแนวคิดความคิดและวิธีการที่ผู้สมัครใช้แก้ปัญหาต่อสถานการณ์ต่างๆ
5.การสัมภาษณ์แบบเข้มข้น(Stress interviews) เป็นการสัมภาษณ์เน้นสถานการณ์ในด้านความเครียดและความกดดันต่างๆ เพื่อพิจารณาปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์
ขั้นที่ 4 การตรวจสอบภูมิหลัง(References and background check)
ในขั้นนี้จะพิจารณาตรวจสอบภูมิหลังจากบริษัทเดิมหรือผู้ที่อ้างถึงในใบสมัคร ข้อมูลการตรวจสอบภูมิหลังช่วยยืนยันความแน่ใจในการตัดสินใจของคณะกรรมการได้ดีขึ้น
ขั้นที่ 5 การตรวจสุขภาพ(Medical Evaluation)
ให้ผู้สมัครตรวจสุขภาพในหน่วยงานต่างๆ ที่ทางองค์การกำหนดให้ การตรวจสุขภาพนี้ช่วยไม่ให้องค์การมีปัญหาภายหลังจากการรับพนักงานเข้ามาทำงานแล้วเกิดภัยอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากสุขภาพเบื้องต้น
ขั้นที่ 6 การประชุมปรึกษาพิจารณา(Conference)
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงาน ผู้คัดเลือกเละกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งพิจารณาตัดสินครั้งสุดท้าย คณะกรรมการชุดนี้จะร่วมกันอภิปรายความเหมาะสมในการตัดสินใจคัดเลือกให้บุคคลใดเข้าทำงานในองค์การ 
ขั้นที่ 7 ทดลองการปฏิบัติงาน(Realistic Job Preview)
ในขั้นนี้จะได้ประโยชน์แก่ผู้ถูกคัดเลือกโดยตรงเพราะจะได้สำรวจตนเองว่ามีความเหมาะสมในงานนั้นจริงหรือไม่ สามารถปรับตัวต่อสภาพการณ์ต่างได้หรือไม่
ขั้นที่ 8 การตัดสินใจจ้าง(Hiring Decision)
ดำเนินการบรรจุเป็นพนักงานขององค์การ ผู้ทำงานด้านนี้ต้องทำการติดตามผลงานของตนเองในทุกครั้งจากผู้

9 จงยกตัวอย่างการใช้งานอินทราเน็ตในองค์การ สำหรับงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ตอบ 1 การประชาสัมพันธ์ปฏิทินที่ระบุเหตุการณ์ต่างๆของบริษัท โดยเฉพาะแผนการประชุมครั้งใหญ่ โดยบุคลากรจะสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงทะเบียนการเข้าประชุม พร้อมทั้งส่งข้อมูลลงทะเบียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในระบบออน์ไลน์ได้
2 บุคลากรทำการประมวลผลตารางเวลาทำงาน ตลอดจนรายงานค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและเบี้ยหวัดของแต่ละบุคคล ผ่านระบบอินทราเน็ตได้ด้วยตนเอง
3 บุคลากร ใช้ระบบบริหารข้อมูลบุคลากรได้ด้วยตนเองผ่านระบบอินทราเน็ต

10 การเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนช่วยเพิ่มทุนทางปัญญาขององค์การในแง่ใด จงอธิบาย
ตอบ  คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในงานด้านการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้รายบุคคลซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่ออธิบายคำสอนผ่านเทคโนโลยีดิติทัล และการเรียนจะเป็นวิถีทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งมันจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนการฝึกอบรมในส่วนต้นทุนกระดาษและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง